ความเป็นมาของโครงการ

นายนพพร ปริฉัตรสกุล ซึ่งเป็นราษฎรอยู่ในกรุงเทพฯ ได้เป็นผู้แทนของชุมชนบ้านห้วยน้ำขาว หมู่ที่ 1 ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำหนังสือเรื่อง ขอรับการช่วยเหลือในการเข้าร่วมโครงการหลวง ต่อ ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ลงวันที่ 9 มีนาคม 2554 โดยขอให้เข้าไปช่วยเหลือด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่เหมาะสม เนื่องจากเกษตรกรมีการปลูกกะหล่ำปลีเป็นพืชหลัก และมีการใช้สารเคมีจำนวนมากมาเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนการผลิตสูง เกษตรกรได้รับอันตรายเสียชีวิตไปแล้วหลายคนและสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม
สถานที่ตั้งของโครงการ
ที่ตั้ง : บ้านห้วยน้ำขาว หมู่ที่ 1 ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
พิกัด : E 714071 N 1864417
มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ |
ติดกับเขตพื้นที่ |
ตำบลกกสะท้อน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย |
ทิศใต้ |
ติดกับเขตพื้นที่ |
ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ |
ทิศตะวันออก |
ติดกับเขตพื้นที่ |
ตำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ |
ทิศตะวันตก |
ติดกับเขตพื้นที่ |
ตำบลห้วยเฮี้ย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก |

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน
สภาพพื้นที่ของโครงการ
มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อนคล้ายกับทะเลภูเขา บางแห่งสูงชันมาก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-1,400 เมตร เข็กน้อย เป็นชื่อเรียกตามลำน้ำเข็กสำหรับพื้นที่ป่าแถบนี้ จะเป็นป่าไม้เบญจพรรณ และมี ต้นค้อ ซึ่งเป็นพันธ์ไม้ตระกูลปาล์ม ลักษณะคล้ายต้นตาล แต่มีผลออกมาคล้ายหมาก กระจายอยู่ทั่วไปทั้งตำบล สภาพป่าเหลืออยู่น้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากในอดีตพื้นที่บริเวณตำบลเข็กน้อย เป็นยุทธศาสตร์ที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้เป็นจุดโจมตี การลำเลียงทหารของรัฐบาลไทย ทำให้รัฐบาลต้องสัมปทานป่าดังกล่าวให้แก่เอกชน และเมื่อการ ปฏิวัติสิ้นสุดลง ป่าบริเวณดังกล่าวก็มีสภาพเป็นป่าที่ถูกทำลายเกือบหมด ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง มีการปลูกป่าซ่อมแซมเป็นป่าสนเขา

สภาพภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศ มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี ฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศเย็นจัด อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้เฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ในช่วงระหว่างเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์ สำหรับฤดูฝนจะมีฝนตกชุก
แหล่งน้ำในพื้นที่โครงการ
พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยน้ำขาว มีแหล่งน้ำลำห้วย 5 แห่ง ได้แก่ แยกเป็นห้วยที่ใช้อุปโภคบริโภค 3 ห้วย ได้แก่ 1. ห้วยเข็กน้อย 2. ห้วยน้ำบง 3. ห้วยน้ำล่าน ห้วยที่ในการทำการเกษตร ได้แก่ 1. ห้วยเข็กน้อย 2. ห้วยน้ำบง 3. ห้วยน้ำล่าน 4. ห้วยน้ำขาว 5. ห้วยน้ำตัวโค้ง และตาน้ำต่างๆ แต่ระบบการเกษตรของตำบลเข็กน้อย มีน้ำไม่เพียงพ่อส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเป็นหลัก เนื่องจากพื้นที่ในการทำการเกษตรเกือบทั้งหมดเป็นที่ลาดชันจึงไม่สามารถก่อสร้างระบบชลประทานเพื่อการเกษตรได้ประกอบกับในตำบลเข็กน้อยเป็นพื้นที่ราชพัสดุของ กรมธนารักษ์ จึงทำให้ปัจจุบันราษฎรส่วนใหญ่ของตำบลเข็กน้อย ต้องไปเช่าพื้นที่เพื่อทำการเกษตรนอกเขตตำบลเข็กน้อย

สภาพเศรษฐกิจ

ประชาชน ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และร้อยละ 5 ประกอบอาชีพอื่นๆ คือ รับจ้าง งานหัตถกรรม ค้าขาย รับราชการ และหาของป่า ทั้งนี้การเพาะปลูกเป็นแบบทำไร่หมุนเวียน โดยปลูกพืชหลัก คือ ข้าวไร่ กะหล่ำปลี ขิง ผักกาดขาวปลี พริกไทย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมีจำนวนมาก โดยมีพ่อค้าคนกลางนำเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยากำจัดวัชพืชมาจำหน่ายหรือลงทุนให้ก่อน และหักเงินคืนเมื่อรับซื้อผลผลิต มีการปลูกไม้ยืนต้นบางเล็กน้อย เช่น ลิ้นจี่ มะม่วง ยางพารา การเลี้ยง วัวพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ชาโลเล่ บางคนก็รับจ้างเลี้ยงและบางคนเลี้ยงของตนเอง มีการเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูพันธุ์พื้นเมืองทุกหลังคาเรือน เพื่อบริโภคในครอบครัว และทำพิธีกรรมต่างๆ เมื่อมีเวลาว่างจะรับจ้างปักผ้า ตีเหล็ก ก่อสร้างบ้าน สร้างถนน ทำไม้กวาดดอกหญ้า ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 85,000 บาท ต่อครัวเรือนต่อปี
สภาพสังคมในพื้นที่โครงการ
การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่ที่ 1,3,5,7,8,9,10 จำนวน 7 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เอกชน จำนวน 2 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา(ขยายโอกาส) จำนวน 2 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
ตำบล |
วัด |
โบสถ์ |
สำนักสงฆ์ |
มัสยิด |
เข็กน้อย |
- |
4 |
1 |
- |
รวม |
- |
4 |
1 |
- |

สภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ (แสดงทรัพยากรในเขตพื้นที่ อบต. เข็กน้อย) สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูงและภูเขา มีการหักร้างถางป่าทำไร่เลื่อนลอยทำให้สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีต้นไม้และเป็นพื้นที่การเกษตรจึงทำให้มีการเผาป่าทำให้สภาพป่า ไม้เป็นป่าเสื่อมโทรม ส่วนสภาพป่าที่ยังคงเหลืออยู่ในเขตพื้นที่ก็ยังเป็นทรัพยากรหลักที่เอื้อผลประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรน้ำและทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย ตลอดจนในภาพรวมของอำเภอเขาค้อ
โครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม
ตำบล |
ถนนลาดยาง |
ถนน คสล. |
ถนนดิน |
ถนนลูกรัง |
เข็กน้อย |
1 |
25 |
- |
5 |
รวม |
1 |
25 |
- |
5 |
การโทรคมนาคม
ด้านการคมนาคมขนส่ง กลุ่มบ้านทั้งหมดมีถนนคอนกรีตเข้าถึง มีเพียงถนนภายในหมู่บ้านบางจุดที่เป็นที่ยังเป็นถนนลูกรัง การติดต่อระดับหมู่บ้านใช้ถนนสายหลักคือ ถนนสายห้วยน้ำขาว-เข็กน้อย และถนนสาย อำเภอหล่มสัก-จังหวัดพิษณุโลก มีถนนคอนกรีต,ถนนลาดยาง ส่วนด้านการสื่อสาร มีโทรศัพท์สาธารณะใช้ในหมู่บ้าน และประชาชนส่วนใหญ่มีโทรศัพท์มือถือใช้เกือบทุกครัวเรือน
ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง
สถานีโทรคมนาคม จำนวน 2 แห่ง
