สภาพเศรษฐกิจ

 

ประชาชน ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และร้อยละ 5 ประกอบอาชีพอื่นๆ คือ รับจ้าง งานหัตถกรรม ค้าขาย รับราชการ และหาของป่า ทั้งนี้การเพาะปลูกเป็นแบบทำไร่หมุนเวียน โดยปลูกพืชหลัก คือ ข้าวไร่ กะหล่ำปลี ขิง ผักกาดขาวปลี พริกไทย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  มีการใช้สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมีจำนวนมาก โดยมีพ่อค้าคนกลางนำเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยากำจัดวัชพืชมาจำหน่ายหรือลงทุนให้ก่อน และหักเงินคืนเมื่อรับซื้อผลผลิต มีการปลูกไม้ยืนต้นบางเล็กน้อย เช่น ลิ้นจี่ มะม่วง ยางพารา การเลี้ยง วัวพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ชาโลเล่ บางคนก็รับจ้างเลี้ยงและบางคนเลี้ยงของตนเอง มีการเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูพันธุ์พื้นเมืองทุกหลังคาเรือน เพื่อบริโภคในครอบครัว และทำพิธีกรรมต่างๆ เมื่อมีเวลาว่างจะรับจ้างปักผ้า ตีเหล็ก ก่อสร้างบ้าน สร้างถนน ทำไม้กวาดดอกหญ้า ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 85,000 บาท ต่อครัวเรือนต่อปี

ปัจจุบันโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงได้พัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชนโดยการส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร โดยประกอบด้วย ส่งเสริมการปลูก พืชผักในและนอกโรงเรือนที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น พริกหวาน แดง เหลือง เขียว , มะเขือเทศโทมัส  ,มะเขือเทศเชอรี่ แตงกวาญี่ปุ่น ผักใบ ในรูปแบบผัก GAP และผักอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายตลาดชุมชน/ตลาดข้อตกลง สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตพืชไร่ ส่งเสริมปลูกไม้ผลที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ได้แก่ มะม่วง อาโวกาโด เสาวรสหวาน ท้อ ทดแทนการปลูกพืชต่างๆ ส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์และประมง หมู ไก่ ปลา และกบ เพื่อสร้างรายได้เสริม และเพื่อการบริโภค ส่งเสริมการแปรรูปข้าวไร่พันธุ์เปล่าจ้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และพัฒนางานหัตถกรรมท้องถิ่นและประยุกต์