โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง แม่สอง

ความเป็นมาของโครงการ

นายพัฒน์สรรพ์  สุขสันต์คีรีองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก  ได้ทำหนังสือที่ ตก 74301/0058 ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงองค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ขอความให้ช่วยแนะนำการส่งเสริมอาชีพตามแนวทางโครงการหลวงให้กับประชาชนตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และมูลนิธิโครงการหลวงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) เข้าดำเนินการ และเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงจึงได้เข้าไปไปสำรวจพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สอง และเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อจัดตั้งตั้งเป็นศูนย์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สอง ในปี 2550  

สถานที่ตั้งของโครงการ

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สอง มีพื้นที่รับผิดชอบ 62 กลุ่มบ้าน ในตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

สำนักงานตั้งอยู่ที่ บ้านวะโดโกร  12  พิกัดที่   :  WGS84 UTM Zone 47Q E 416846 N 1935989 โดยอยู่ห่างจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ระยะทาง 369 กิโลเมตร  ใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง 30 นาที อยู่ห่างจากอำเภอท่าสองยาง ระยะทาง 62 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 2.30 ชั่วโมง อยู่ห่างจากจากเขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ระยะทาง 186 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 3.50 นาที แลอยู่ห่างจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก 198 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมงเส้นทางคมนาคมเป็นถนนลาดยาง สลับกับถนนลูกรัง และดินแดนเป็นช่วงๆ ความสูงของพื้นที่ 105 – 1200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปางกลาง

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สอง มีกลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน มีทั้งหมด 64 กลุ่มบ้าน

สภาพพื้นที่ของโครงการ

พื้นที่สภาพพื้นที่เป็นภูเขา มีความลาดชันสูง ที่ราบลุ่มเล็กน้อยตามริมน้ำมีความชันน้อยกว่า 30 % ร้อยละ 33.5 ความลาดชันมากกว่า 35% ร้อย คิดเป็นร้อยละ 33.23 รองลงมามีระดับความลาดชันสูชันมาก คิดเป็นร้อยละ 23.60 และมีระดับความลาดชันราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ คิดเป็นร้อยละ 20.94

สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศมีอุณหภูมิเฉลี่ย 26.62 องศาเซลเซียส โดยฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน เฉลี่ย 35.07 องศาเซลเซียส และฤดูหนาวมีอุณหภูมิต่ำสุดในมกราคม เฉลี่ย 19.53 องศาเซลเซียส ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-เดือนกันยายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,360.9 มิลลิเมตรต่อปี

แหล่งน้ำในพื้นที่โครงการ

แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภค บริโภค จำนวน 17 ลำห้วยหลัก ได้แก่ห้วยแม่หิด,ห้วยแม่โหนก,ห้วยแม่นิล,ห้วยแม่โข๊ะ,ห้วยแม่ลิดน้อย,ห้วยแม่ลิดหลวง,ห้วยขุนแม่สอง,ห้วยแม่สลิดโพโกร,ห้วยยาว,ห้วยแม่เตอะโกร,ห้วยทีคีเคอโกร ห้วยกูแจโกร ,ห้วยกายบอดู ,ห้วยที่โมโกรคี,น้ำแม่หลุยและน้ำแม่ระเมิง ปัญหาสำคัญคือพื้นที่ส่วนใหญ่ขาดถังเก็บน้ำและระบบกระจ่ายน้ำเพื่อการเกษตร ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาเหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค โดยกรมชลประทานได้สร้างถังพักน้ำพร้อมระบบส่งน้ำ จำนวน 6 กลุ่มบ้าน ได้แก่บ้านวะโดโกร,บ้านซอเข่วาคี,บ้านแม่ระเมิง,บ้านบอบือหละคี บ้านแม่โข๊ะ ,และบ้านห้วยมะโหนกคี และดำเนินการโดยกรมทรัพยากรน้ำ จำนวน 1 กลุ่มบ้าน คือ บ้านแม่สลิดหลวง

สภาพเศรษฐกิจ

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร รองลงรับจ้าง ค้าขาย รับราชการ และหาของป่า ทั้งนี้การทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นแบบไร่หมุนเวียน พืชปลูกมีจำกัด  พืชหลัก คือ ปลูกข้าวไร่ ข้าวนาปลูกเพื่อการบริโภค และพืชสร้างรายได้เสริม  ได้แก่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พริกกะเหรี่ยง และพืชท้องถิ่นได้แก่ บุก พลู เนียง เร่ว ทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีหนี้สิน ส่วนการเลี้ยงสัตว์เกษตรกรมีการเลี้ยง วัว ควาย สุกร และ ไก่  เพื่อการบริโภค พิธีกรรม และจำหน่ายเล็กน้อย มีอาชีพนอกภาคการเกษตรในเวลาว่างได้แก่ หัตถกรรม และรับจ้าง

สภาพสังคมในพื้นที่โครงการ

กลุ่มบ้านในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สอง ทั้ง 62 กลุ่มบ้าน มีประชากร จำนวน 2,785 ครัวเรือน 11,652 คน เป็นชนเผ่ากะเหรี่ยง ด้านสาธารณสุข ประชาชนใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่สลิดหลวงตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านแม่ลิดหลวง  และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ระเมิง และหมู่ที่ 8 บ้านแม่ระเมิง  ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

สภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ

พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สอง ทั้ง 62 กลุ่มบ้าน  มีพื้นที่รวมประมาณ 409.89 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 256,250 อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติท่าสองยางร้อยละ 70 และเขตอุทยานแห่งชาติแม่เมย ร้อยละ 30 โดยส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1 A คิดเป็นร้อยละ 75.35 รองลงมาอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 คิดเป็นร้อยละ 11.18 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1 B ร้อยละ 7.91 สภาพป่ามีการทำไร่หมุนเวียน และแผ้วถางเพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่จึงมีปัญหาสำคัญคือ การชะล้างพังทลายและการเสื่อมโทรมของดิน มลภาวะการเผ่า และการใช้สารกำจัดวัชพืชมีแนวโน้นที่สูงขึ้น

โครงสร้างพื้นฐาน

ระบบไฟฟ้ามี 3 กลุ่มบ้านที่มีฟ้าใช้ได้แก บ้านแม่นิล บ้านแม่สลิดหลวง บ้านแม่สลิดน้อย นอกนั้นใช้ไช้ระบบโซล่าโฮม แต่จะพบปัญหาการเสื่อมสภาพ สำหรับน้ำอุปโภค มีกลุ่มบ้านที่ขาดน้ำได้แก่ บ้านต่อปล้าคี  ที่ขาดน้ำช่วงฤดูแล้ง นอกนั้นมีน้ำใช้ตลอดปี ปัญหาน้ำไม่สะอาดเท่าทีควร

ด้านการคมนาคม กลุ่มบ้านมีคอนกรีตจำนวน 3 กลุ่มบ้านได้แก่บ้านแม่สลิดน้อย บ้านแม่สลิดหลวง และบ้านแม่นิล นอกนั้นถนนเป็นถนนลูกรัง ดินแดนและถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่เป็นช่วงๆ ช่วงฤดูฝนการคมนาคมลำบาก ด้านการสื่อสาร มีสัญญาโทรศัพท์ใช้ 2 กลุ่มบ้านที่ได้แก่ บ้านแม่สลิดหลวง บ้านแม่สลิดน้อย