ความเป็นมาของโครงการ

ตามที่หมู่บ้านน้ำเคิมและองค์การบริหารส่วนตำบลปิงหลวง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่านได้มีหนังสือที่ นน 1017/3188 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2551 มีความประสงค์ขอรับสนับสนุน จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงในพื้นที่โครงการหลวงในพื้นที่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับราษฎร บ้านน้ำเคิม ตามการเรียกร้องขอมาจากประชาชนในหมู่บ้าน ผ่านทางนายอำเภอนาหมื่น และผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เนื่องจากประชาชนในหมู่บ้านยังมีความยากจน และประกอบอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่ซึ่งมีรายได้น้อย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องขยายผลกันต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความยั่งยืนบนวิถีชีวิตพอเพียง
สถานที่ตั้งของโครงการ
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำเคิมตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ตำบลปิงหลวง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน พิกัดที่ X 652830 Y 2002180 พื้นที่สำนักงาน 2.17 ไร่
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำเคิมอยู่ห่างจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ระยะทาง 280 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 56 นาที อยู่ห่างจากจังหวัดน่าน ระยะทาง 114 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 23 นาที อยู่ห่างจากอำเภอนาหมื่น ระยะทาง 27 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 52 นาที โดยเส้นทางคมนาคมเป็นถนนลูกรัง คอนกรีตและถนนลาดยาง

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำเคิม มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 7 หมู่บ้าน คือในเขตตำบลปิงหลวง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน
มีประชากร จำนวน 623 ครัวเรือน 2,404 คน
กลุ่มบ้าน |
หมู่ที่ |
ตำบล |
ความสูงของพื้นที่ (เมตร) |
บริบทของพื้นที่ |
ครัวเรือน |
ประชากร ตามทะเบียนราษฎร์ (คน) |
ชนเผ่า |
น้ำเคิม |
7 |
ปิงหลวง |
265 |
พืชไร่ พืชสวน |
59 |
250 |
ไทยพื้นราบ |
น้ำแพะ |
6 |
ปิงหลวง |
260 |
พืชไร่ พืชสวน |
94 |
389 |
ไทยพื้นราบ |
ต้นต้อง |
5 |
ปิงหลวง |
230 |
พืชไร่ พืชสวน |
110 |
487 |
ไทยพื้นราบ |
น้ำลีใต้ |
8 |
ปิงหลวง |
235 |
พืชไร่ พืชสวน |
75 |
254 |
ไทยพื้นราบ |
ปิงหลวง |
2 |
ปิงหลวง |
235 |
พืชไร่ พืชสวน |
112 |
484 |
ไทยพื้นราบ |
น้ำทา |
9 |
ปิงหลวง |
230 |
พืชไร่ พืชสวน |
40 |
148 |
ไทยพื้นราบ |
ปิงใน |
3 |
ปิงหลวง |
230 |
พืชไร่ พืชสวน |
133 |
392 |
ไทยพื้นราบ |
รวม |
|
|
|
|
623 |
2,404 |
|
สภาพพื้นที่ของโครงการ
สภาพพื้นที่มีสภาพเป็นหุบเขากว้าง มีความลาดชันปานกลาง จุดสูงสุดประมาณ 1,171 เมตร จุดต่ำสุดประมาณ 235 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ที่ตั้งบ้านมีความสูงเฉลี่ยเพียง 264 เมตรมีพื้นที่ประมาณ 58 ตารางกิโลเมตร (36,229.70 ไร่) ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านส่วนที่ 3 พื้นที่ของหมู่บ้าน จำนวน 90,000 ไร่ แยกตามระดับความสูง มีระดับความสูงระหว่าง 200-1200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีระดับความสูง ระหว่าง 500-600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 26.80 ของพื้นที่ทั้งหมด

สภาพภูมิอากาศ

อยู่ในเขตภูมิอากาศประเภทฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู ซึ่งมีอากาศแห้งแล้ง และเปียกชื้น ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดเอาความชุ่มชื้นและเมฆฝนเข้ามาทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาลดังนี้
ฤดูฝน ระหว่างพฤษภาคม-ตุลาคม มีฝนตกชุก
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ในเดือนธันวาคม-มกราคม จะมีอากาศหนาว
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียส
แหล่งน้ำในพื้นที่โครงการ
แหล่งน้ำ น้ำเพื่อการเกษตรได้จาก ห้วยน้ำเคิมบก ห้วยกุม ห้วยปลาดุกและ ห้วยน้ำเคิมเป็นทางหลัก ซึ่งมีน้ำไหลตลอด ส่วนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ได้จากห้วยแง ห้วยปลาดุก และห้วยลาด ปัญหาสำคัญคือพื้นที่ส่วนใหญ่ขาดน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคช่วงฤดูแล้ง โดยเฉพาะบ้านน้ำเคิม ซึ่งเป็นกลุ่มบ้านหลัก มีการขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมของทุกปี

สภาพเศรษฐกิจ

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลัก โดยการปลูกพืช ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ข้าวไร่และข้าวนา โดยอาศัยน้ำฝน ทั้งนี้การทำการเกษตรส่วนใหญ่ใช้พื้นที่เดิมในการปลูกพืชทำให้เกิดปัญหาสภาพดินเสื่อมโทรมเนื่องจากการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และการใช้สารเคมีในปริมาณมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงเกษตรกรมีปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพและมีหนี้สิน เกิดปัญหาด้านสุขภาพจากการสะสมของสารเคมีในร่างกาย สำหรับทางเลือกในการปลูกพืชอื่นๆ มีการปลูกไม้ผลยืนต้น ได้แก่เงาะ ทุเรียน ลองกอง มะม่วงหิมมะพานต์ที่เป็นพืชเดิมของพื้นที่ ส่วนการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรมีการเลี้ยงไก่ และสุกร เพื่อบริโภคในครัวเรือน ทั้งนี้จากข้อมูล จปฐ. ปีพ.ศ. 2560 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 261,225.2 บาท ต่อครัวเรือนต่อปี (กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.(2560).ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน จปฐ./ปี2560.สืบค้นจาก http://ebmn.cdd.go.th/#/jpt/report)
สภาพสังคมในพื้นที่โครงการ
กลุ่มบ้านในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำเคิม ทั้ง 7 กลุ่มบ้าน มีประชากรจำนวน 623 ครัวเรือน จำนวน 2,404 คน ประชากรส่วนใหญ่เป็นไทยพื้นราบ.มีอายุระหว่าง 1-95 ปี ด้านสาธารณสุขประชาชนใช้บริการจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิงหลวง หรือโรงพยาบาลนาหมื่น อำเภอนาหมื่น ที่ผ่านมาโครงการพัฒนาแบบพื้นที่สูงวังไผ่ได้สนับสนุนการทำแผนชุมชนและการการนำไปใช้ประโยชน์ใน 3 กลุ่มบ้านคือ บ้านน้ำเคิม บ้านน้ำแพะ บ้านต้อง

สภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ

พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำเคิม ทั้ง 7 กลุ่มบ้าน หมู่บ้านพื้นที่ตั้งสำนักงานมีพื้นที่รวมประมาณ 36,193.75 ไร่ โดยอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำตอนใต้ทั้งหมดอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A จำนวน 14,693.75 ไร่ และ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 จำนวน 21,537.50 ไร่จำแนกออกเป็นพื้นที่อยู่อาศัย จำนวน.468.75.ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน.4,792 .ไร่ และพื้นที่ป่า จำนวน.30,933.ไร่ ซึ่งมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั้งหมด
โครงสร้างพื้นฐาน
ทุกกลุ่มบ้านและหลังคาเรือนในพื้นที่ดำเนินงานของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง มีไฟฟ้าใช้ มีน้ำอุปโภคและบริโภคทุกหลังคาเรือนโดยเป็นระบบประปาภูเขา ไม่เพียงพอในฤดูแล้งมีปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร เนื่องจากลำห้วยขนาดใหญ่และที่มีปริมาณน้ำเพียงพออยู่ต่ำกว่าระดับพื้นที่ทำการเกษตรและพื้นที่ตั้งชุมชน ในขณะที่ฝายและระบบประปาภูเขาที่อยู่สูง น้ำต้นทุนมีน้อย ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้รับการพัฒนาแหล่งน้ำจากหน่วยงานต่างๆ
