
สภาพเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลัก โดยการปลูกพืช ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ข้าวไร่และข้าวนา โดยอาศัยน้ำฝน ทั้งนี้การทำการเกษตรส่วนใหญ่ใช้พื้นที่เดิมในการปลูกพืชทำให้เกิดปัญหาสภาพดินเสื่อมโทรมเนื่องจากการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และการใช้สารเคมีในปริมาณมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงเกษตรกรมีปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพและมีหนี้สิน เกิดปัญหาด้านสุขภาพจากการสะสมของสารเคมีในร่างกาย สำหรับทางเลือกในการปลูกพืชอื่นๆ มีการปลูกไม้ผลยืนต้น ได้แก่เงาะ ทุเรียน ลองกอง มะม่วงหิมมะพานต์ที่เป็นพืชเดิมของพื้นที่ ส่วนการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรมีการเลี้ยงไก่ และสุกร เพื่อบริโภคในครัวเรือน ทั้งนี้จากข้อมูล จปฐ. ปีพ.ศ. 2560 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 261,225.2 บาท ต่อครัวเรือนต่อปี (กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.(2560).ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน จปฐ./ปี2560.สืบค้นจาก http://ebmn.cdd.go.th/#/jpt/report)
ปัจจุบันโครงการพัฒนาแบบพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำเคิม ได้ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรโดยการส่งเสริมอาชีพทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำหน่ายผ่านตลาดโครงการหลวง ตลาดไท-สี่มุมเมืองและตลาดชุมชน เพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร ดังนี้
(1) ส่งเสริมการปลูกพืชผักในและนอกโรงเรือนที่ใช้พื้นที่น้อยแต่ให้ผลตอบแทนสูง ได้แก่ การปลูกพริกหวาน มะเขือเทศเชอรี่ แตงกวาญี่ปุ่น
(2) ส่งเสริมการปลูกไม้ผลที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า ได้แก่ อาโวกาโด้ เงาะ ลองกอง ทุเรียน ทดแทนการปลูกพืชไร่
(3) ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์, ประมง ได้แก่ สุกร ไก่ ปลา เพื่อสร้างรายได้เสริมและเพื่อบริโภค
(4) ส่งเสริมอาชีพนอกภาคการเกษตร ได้แก่ งานจักสาน ไม้กวาดดอกหญ้า
หมู่บ้าน |
ตำบล |
รายได้ต่อครัวเรือน |
1. น้ำเคิม |
ปิงหลวง |
258,354.34 |
2. น้ำแพะ |
ปิงหลวง |
197,746.81 |
3. ต้นต้อง |
ปิงหลวง |
363,458.33 |
4. น้ำลีใต้ |
ปิงหลวง |
320,859.59 |
5. ปิงหลวง |
ปิงหลวง |
238,840.76 |
6. น้ำทา |
ปิงหลวง |
162,975.00 |
7. ปิงใน |
ปิงหลวง |
286,341.82 |
รวม 7 หมู่บ้าน |
|
261,225.2357 |
(กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.(2560).ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน จปฐ./ปี2560.สืบค้นจาก http://ebmn.cdd.go.th/#/jpt/report)