ความเป็นมาของโครงการ

บ้านน้ำแขว่ง หมู่ที่ 6 เดิมเป็นละแวกน้ำแขว่งและละแวกท่าควาย ได้แยกหมู่บ้านมาจากบ้านน้ำอูน หมู่ที่ 1 บรรพบุรุษได้เข้ามาอาศัยอยู่พร้อมกับบ้านน้ำอูนประมาณสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประชากรที่อพยพมาอาศัยอยู่ครั้งแรกเป็นคนไทยเหนือและเป็นคนไทยเชื้อสายขมุ บางส่วนย้ายถิ่นฐานมาจากอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา บริเวณบ้านน้ำแขว่งมีคนบอกเล่าว่ามีความอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ แถวละแวกท่าควายในอดีตมีควายป่าจำนวนมากและสัตว์ป่าอื่นๆ หลายชนิด ในบริเวณนี้จึงเกิดความสมดุลและอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
สถานที่ตั้งของโครงการ
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำแขว่งตั้งหมู่บ้านน้ำแขว่ง ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอนาหมื่น เป็นระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมืองน่านเป็นระยะทางประมาณ 102 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 7,538 ไร่ สภาพพื้นที่ทั่วไปของหมู่บ้านน้ำแขว่งตั้งอยู่บนเทือกเขาสลับซับซ้อนของเทือกเขาหลวง-พระบาง ความสูง ประมาณ 3๘๓ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พิกัด X 661219.00 Y 2o15439.00

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน
ระดับการพัฒนา |
ชื่อหมู่บ้าน |
ครัวเรือนทั้งหมด |
ครัวเรือนที่ได้รับการพัฒนา |
ครัวเรือที่ได้การพัฒนาอาชีพ |
จำนวนประชากร (คน) |
พื้นที่ดำเนินการ |
||
หญิง |
ชาย |
ทั้งหมด |
ปีงบ 55-60 |
|||||
C |
บ้านน้ำอูน |
82 |
54 |
22 |
99 |
122 |
221 |
/ |
C |
บ้านป่าซาง |
55 |
1 |
1 |
61 |
66 |
127 |
61 |
C |
บ้านนาหมอ |
85 |
40 |
17 |
171 |
167 |
338 |
/ |
D |
บ้านนาคา |
95 |
- |
- |
173 |
180 |
353 |
62 |
C |
บ้านวังน้ำเย็น |
34 |
26 |
8 |
39 |
39 |
78 |
/ |
B |
บ้านน้ำแขว่ง |
73 |
65 |
56 |
96 |
96 |
192 |
/ |
C |
บ้านนาม่วง |
37 |
3 |
3 |
62 |
52 |
114 |
63 |
C |
บ้านห้วยฮ่อม |
119 |
11 |
11 |
474 |
462 |
936 |
|
รวม 8 หมู่บ้าน |
580 |
200 |
118 |
1,175 |
1,184 |
2,359 |
|
สภาพพื้นที่ของโครงการ
สภาพพื้นที่ทั่วไปของพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำแขว่งมีระดับความราดชันสูง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนเทือกเขามีความสูงประมาณ 300-1,400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางแหล่งน้ำเป็นน้ำผิวดินส่วนใหญ่เป็นลักษณะลำห้วย ที่มีน้ำไหลตลอดปีซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ แหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ในพื้นที่คือลำห้วยห้านและห้วยน้ำแขว่ง ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของหมู่บ้านแต่อยู่ต่ำกว่าพื้นที่ทางการเกษตรของหมู่บ้าน พื้นที่ทางการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ตามไหลเขาและเดินทางค่อนข้างสะดวก

สภาพภูมิอากาศ

อุณหภูมิเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส
ต่ำสุด 9.69 องศาเซลเซียส
สูงสุด 37.81 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 114.50 มิลลิลิตร
แหล่งน้ำในพื้นที่โครงการ
แหล่งน้ำ รับน้ำจากลำห้วยห้านและห้วยน้ำแขว่ง
น้ำประปา จำนวน 1 แห่ง (ใช้ได้ 82 หลังคา 85 ครัวเรือน)
ฝายน้ำล้นคอนกรีต จำนวน 15 แห่ง
บ่อบาดาลชนิดสูบโยก จำนวน 1 แห่ง
ถังเก็บน้ำฝน จำนวน 50 แห่ง
บ่อบาดานใช้ปั๊ม จำนวน 1 แห่ง

สภาพเศรษฐกิจ

ประชาชน ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และร้อยละ 5 ประกอบอาชีพอื่นๆ คือ รับจ้าง งานหัตถกรรม ค้าขาย รับราชการ และหาของป่า โดยปลูกพืชหลัก คือ ข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมีจำนวนมาก โดยมีพ่อค้าคนกลางนำเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยากำจัดวัชพืชมาจำหน่ายหรือลงทุนให้ก่อน และหักเงินคืนเมื่อรับซื้อผลผลิต มีการปลูกไม้ยืนต้นบางเล็กน้อย เช่น เงาะ มะม่วง มีบางรายปลูกต้นมะแข่นตามหัวไร่ปลายนา เลี้ยง วัวพันธุ์พื้นเมืองบางคนก็รับจ้างเลี้ยงและบางคนเลี้ยงของตนเอง มีการเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูพันธุ์พื้นเมืองทุกหลังคาเรือน เพื่อบริโภคในครอบครัว และทำพิธีกรรมต่างๆ ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 84,175 บาท ต่อครัวเรือนต่อปีและมีหนี สินทุกครัวเรือน (ข้อมูลรายได้ จปฐ. ปี 2559)
สภาพสังคมในพื้นที่โครงการ
สังคมชาวบ้านน้ำแขว่งเป็นชุมชนขนาดเล็ก ทำให้มีความใกล้ชิดกันของคนในชุมชนทุกคนในหมู่บ้านรู้จักกัน อีกทั้งยังเป็นสังคมเกษตรกรรมมี วิถีชีวิตในทางเดียวกัน สภาพ บ้านเรือน ความเชื่อ ศาสนา ประเพณี พิธีกรรมอันเดียวกัน ดังนั้นสภาพทางสังคมของคนในหมู่บ้านจึงมีไปใน ทางเดียวกันมีความสมัครสมานปรองดองกัน

สภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำแขว่ง มีพื้นที่ที่เป็นป่าโดยมากอีกทั้งพื้นที่บางส่วนยังเป็นป่าสมบูรณ์จึงทำให้ได้รับรองประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เป็นแหล่งอนุรักษ์ป่าไม้
ต้นน้ำลำธารและสัตว์ป่า ที่สำคัญของหมู่บ้าน ซึ่งขณะเดียวกันทรัพยากรดินในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงบ้านน้ำแขว่งมีลักษณะดินตื้นและลึก ปะปนกันไป ซึ่งดินตื้นจะพบตามพื้นที่ลาดชัน ส่วนดินลึกพบตามที่ราบต่ำและหุบเขา ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง
ข้อมูลทรัพยากรดิน
พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงฯน้ำแขว่งมีลักษณะดินตื้นและลึกปะปนกันไปดินตื้นจะพบตามพื้นที่ลาดชัน ส่วนดินลึกพบตามที่ราบต่ำและหุบเขา ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับหินต้นกำเนิดของดิน การทำการเกษตร การอนุรักษ์ป่าไม้ และ อัตราการพังทลายของดิน
พื้นที่ป่าจำแนก |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) |
11.24 |
7,023.83 |
93.17 |
พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) |
0.22 |
140.27 |
1.86 |
นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
0.60 |
374.81 |
4.97 |
รวม |
12.06 |
7,538.91 |
100.00 |

โครงสร้างพื้นฐาน

บ้านน้ำแขว่ง ตั้งอยู่ห่างจากบ้านน้ำอูนซึ่งเป็นบ้านหลักเพียง 1 กิโลเมตร มีถนนลาดยางกว้าง 4 เมตรระยะทาง 2 กิโลเมตร ที่เหลือเป็นทางลูกลังเชื่อมต่ออำเภอนาหมื่นระยะทางรวม 27 กิโลเมตร
สถานศึกษา โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งศูนย์การเรียนรู้ชาวไทยภูเขา (ศศช.)ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำอูน
แหล่งบริการสาธารณะสุข มีสถานีอนามัยในหมู่บ้านและงมีเพียงอาสาสมัครสาธารณะสุขหมูบ้าน (อสม.) ประจำหมู่บ้านจำนวน 7 คน
ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์
ไฟฟ้า เข้าถึงทั่วหมู่บ้านโดยสายไฟฟ้า
น้ำประปา ใช้น้ำประปาจากลำห้วยห้าน ใช้กันทั้งหมู่บ้านทุกครัวเรือน
โทรศัพท์ มีโทรศัพท์สาธารณะใช้ของ TOT สัญญาณ DTAC และ AIS มีสัญญาณบางพื้นที่