ข้อมูลทรัพยากรดิน

 

พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงฯน้ำแขว่งมีลักษณะดินตื้นและลึกปะปนกันไปดินตื้นจะพบตามพื้นที่ลาดชัน ส่วนดินลึกพบตามที่ราบต่ำและหุบเขา ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับหินต้นกำเนิดของดิน การทำการเกษตร การอนุรักษ์ป่าไม้ และ อัตราการพังทลายของดิน


การใช้ประโยชน์ที่ดิน

การใช้ประโยชน์ที่ดินของหมู่บ้านน้ำแขว่ง เป็นไปในลักษณะผสมผสานมีการใช้ที่ดินหลาก หลายรูปแบบ เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ป่าไม้ สวนป่า ที่อยู่อาศัย นาข้าวและอื่น ๆ ในส่วนของรูปแบบการใช้ที่ดินหลัก ๆ คือ ที่อยู่อาศัย ทุ่งหญ้า ป่าไม้ และพืชไร่ ส่วนพื้นที่เพื่อกิจกรรมอื่นก็มีน้อยลด หลั่นกันลงไป ดังจะเห็นได้จากอาชีพของประชาชนส่วนใหญ่ ที่มีการประกอบอาชีพการเกษตรดังนั้นการใช้พื้นที่ส่วนใหญ่นอกจากการที่อยู่อาศัยแล้วก็เป็นพื้นที่ เพื่อการเกษตร เลี้ยงสัตว์และป่าไม้ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันของคนในชุมชน

 

ตารางการใช้ประโยชน์ที่ดิน บ้านน้ำแขว่ง

การใช้ประโยชน์ที่ดิน

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

นาข้าว

0.08

51.91

0.69

บ่อดิน

0.06

40.37

0.54

ป่าประเภทผลัดใบ

1.54

964.59

12.79

พืชไร่

0.42

262.17

3.48

พื้นที่ทุ่งหญ้าธรรมชาติ

2.62

1,639.78

21.75

ไม้ผล

1.45

906.32

12.02

หมู่บ้าน

4.74

2,960.07

39.26

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

1.14

713.71

9.47

รวม

12.06

7,538.91

100.00


 

การชะล้างพังทลายของดิน

พื้นที่บ้านน้ำแขว่งเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงจึงมีการพังทลายของหน้าดินค่อนข้างสูง ดังจะเห็นได้จากระดับการชะล้างรุนแรงที่สูงถึงร้อยละ 66.54  ส่วนอัตราระดับการชะล้างน้อยมากมีเพียงร้อยละ 20.37 เท่านั้น เท่ากับว่าพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง มีอัตราการชะล้างของหน้าดินรุนแรง

 

การชะล้างพังทลาย

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

น้อย (ที่สูง)

0.26

165.03

2.19

น้อยมาก (ที่สูง)

2.46

1,535.88

20.37

ปานกลาง (ที่สูง)

1.31

821.76

10.90

รุนแรงมาก (ที่สูง)

8.03

5,016.24

66.54

รวม

12.06

7,538.91

100.00

ตาราง  แสดงอัตราการชะล้างพังทลายของดิน