ความเป็นมาของโครงการ

ปี พ.ศ. 2521 - 2524 ได้มีการอพยพชาวเขาเข้ามาในพื้นที่คลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะเผ่าเย้า ซึ่งเป็นกองกำลังชาวเขาที่หลบหลีเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ป่าคลองลานเป็นอุทยานแห่งชาติ ทำให้การประกาศเขตอุทยานซ้อนทับพื้นที่ของหมู่บ้านชาวเขา จำนวน 15 หมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2527 - 2529 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดกำแพงเพชรจึงได้มีคำสั่งดำเนินการอพยพชาวเขาไปยังพื้นที่ที่จัดสรรใหม่
สถานที่ตั้งของโครงการ
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงคลองลาน มีพื้นที่ดำเนินงานจำนวน 7 กลุ่มบ้าน ตั้งอยู่ในพื้นที่ 4 ตำบล 3 อำเภอในจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานโครงการตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลปางมะค่า ตั้งอยู่ที่พิกัด 545669 E 1764956 N ระวางแผนที่ 4840 I บ้านวังหินดาต โดยอยู่ห่างจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ระยะทาง 400 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมง อยู่ห่างจากจังหวัดกำแพงเพชร ระยะทาง 60 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 50 นาที เส้นทางคมนาคมสามารถเข้าถึงได้สะดวก มีระดับความสูง ตั้งแต่ 100 - 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่โดยส่วนใหญ่มีระดับความสูง 100 - 200 เมตร ประชากรในพื้นที่มี 4 ชนเผ่า คือ อิ๊วเมี่ยน(เย้า), ลาหู่(มูเซอ), ปกากะญอ(กะเหรี่ยง), ไทย มีจำนวน 318 ครัวเรือน จำนวน 1,368 คน

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน
หมู่บ้าน |
ตำบล |
ความสูงของพื้นที่(เมตร) |
บริบทของพื้นที่ |
ครัวเรือน |
ประชากร(คน) |
ชนเผ่า |
1. กลุ่มบ้านอุดมทรัพย์ |
หินดาต |
149 |
ข้าวโพด,มันสำปะหลัง, รับจ้าง |
52 |
255 |
อิ๊วเมี่ยน (เย้า) |
2. กลุ่มบ้านปางมะนาว |
ปางมะค่า |
171 |
มันสำปะหลัง,ต้นยูคา, รับจ้าง |
40 |
123 |
ลาหู่ (มูเซอ), ไทย |
3. กลุ่มบ้านปางมะละกอ |
ปางตาไว |
190 |
มันสำปะหลัง,ต้นยูคา, รับจ้าง |
31 |
132 |
ลาหู่ (มูเซอ) |
4. กลุ่มบ้านสุขสวรรค์ |
คลองลานพัฒนา |
148 |
มันสำปะหลัง,ต้นยูคา, รับจ้าง |
78 |
385 |
ลาหู่ (มูเซอ) |
5. กลุ่มบ้านน้ำพระทัย |
คลองลานพัฒนา |
123 |
มันสำปะหลัง,ต้นยูคา, รับจ้าง |
42 |
146 |
อิ๊วเมี่ยน (เย้า), ปกากะญอ (กะเหรี่ยง) |
6. กลุ่มบ้านสุขวิจิตรพัฒนา |
คลองลานพัฒนา |
119 |
มันสำปะหลัง,ต้นยูคา, รับจ้าง |
28 |
115 |
อิ๊วเมี่ยน (เย้า) |
7. กลุ่มบ้านสามัคคีธรรม |
คลองน้ำไหล |
174 |
รับจ้าง |
47 |
212 |
ปกากะญอ (กะเหรี่ยง) |
รวม |
5 ตำบล |
100-200 |
|
318 |
1,368 |
4 ชนเผ่า |
สภาพพื้นที่ของโครงการ
ระดับความสูงของพื้นที่โครงการขยายผลงานโครงการหลวงคลองลาน มีระดับความสูง ตั้งแต่ 100 - 600 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่โดยส่วนใหญ่มีระดับความสูง 100 - 200 เมตร คิดเป็นร้อยละ 76 รองลงมามีระดับความสูง 200 - 300 เมตร คิดเป็นร้อยละ 16.34
ระดับความลาดชัน ของพื้นที่โครงการขยายผลงานโครงการหลวงคลองลาน ส่วนใหญ่มีระดับความลาดชันราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ร้อยละ 0 - 2 คิดเป็นร้อยละ 49.27 รองลงมามีความลาดชันเล็กน้อยร้อยละ 2 - 5 คิดเป็นร้อยละ 18.87

สภาพอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศในพื้นที่โครงการขยายผลคลองลานเป็นแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูโดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีอากาศแห้งแล้ง 5 - 6 เดือน โดยฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม และอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม และต่อกับฤดูฝนในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำฝนรวมเฉลี่ยตลอดทั้งปี จำนวน 1,302 มิลลิเมตร
การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โครงการ
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร ได้ดำเนินการจัดสรรที่ดิน จำนวน 1,958 ไร่ แบ่งออกเป็นที่ดินทำกิน 1,184 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 60.48 ของพื้นที่ทั้งหมด, ที่อยู่อาศัย 140 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.15 พื้นที่ส่วนราชการ พื้นที่ป่า และสาธารณะประโยชน์ 634 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.37

แหล่งน้ำในพื้นที่โครงการ

แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ ประปาภูเขา 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่ทางราชการขุดให้ไว้อีก จำนวน 6 แห่ง แหล่งน้ำบางดาลใต้ดิน 7 แห่ง และมีแหล่งน้ำ เช่น บึงหล่ม ส่วนลำห้วยอื่น ๆ ลำน้ำคลองลาน คลองน้ำไหล คลองยาง คลองมะนาว คลองลึก คลองสวนหมาก คลองวังเจ้า และห้วยสบขุนหมาก
สภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ
พื้นที่ทั้งหมดในพื้นที่โครงการคลองลานเป็นพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) โดยกรมป่าไม้ได้กันพื้นที่ออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติคลองลาน และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์

สภาพเศรษฐกิจ

ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพปลูกพืชไร่ และรับจ้าง ค้าขาย รับราชการ และหาของป่า ทั้งนี้การทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นการปลูกพืชไร่เชิงเดียว พืชหลักที่ปลูกมีจำกัด เช่น มันสำปะหลัง ต้นยาคู เนื่องจากเป็นพื้นที่ในเขตแห้งแล้ง การทำการเกษตรต้องอาศัยน้ำฝน พื้นที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ไม่เหมาะสมกับการทำการเกษตร ในการผลิตจึงต้องใช้การลงทุนสูงในขณะที่ได้ผลผลิตตอบแทนต่อหน่วยพื้นที่น้อย ทำให้เกษตรกรมีปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพและมีหนี้สิน และยังมีการใช้สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมีจำนวนมาก สำหรับทางเลือกในการปลูกพืชอื่นๆยังจำกัด มีเพียงการปลูกข้าวโพด บ้างเล็กน้อย ส่วนการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรบางรายมีการเลี้ยงเพียงสุกร ไก่ เพื่อใช้บริโภคและลดรายจ่ายในครัวเรือน และหลังจากมีการปลูกพืชหลักเสร็จสิ้นก่อจะมีการออกจากพื้นที่เพื่อไปหารับจ้างต่างถิ่น พอถึงฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะกลับมายังพื้นที่ทำกินของตนเองเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตของตนเอง
โครงสร้างพื้นฐาน
ระบบไฟฟ้า ประชากรได้รับการขยายเขตไฟฟ้าครบทุกครัวเรือน
การใช้น้ำอุปโภคบริโภค ประชากรใช้น้ำประปาภูเขา น้ำบาดาล และอ่างเก็บน้ำ
การถือครองที่ดิน
ประชากรในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน เนื่องจาก พื้นที่ทั้งหมดในพื้นที่โครงการคลองลานเป็นพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) ที่กรมป่าไม้ได้กันพื้นที่ออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติคลองลาน และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และจัดสรรให้ชาวบ้านสามารถใช้ทำประโยชน์ในการอยู่อาศัย ครอบครัวละประมาณ 2 งาน และประกอบอาชีพเกษตรกรรม อีกครอบครัวละประมาณ 5 ไร่ สามารถมอบให้แก่ลูกหลานเพื่อทำกินต่อไปได้
