โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง แม่จริม

ความเป็นมาของโครงการ

หมู่บ้านนาหมัน บ้านตอง และบ้านตองเจริญราษฎร์ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน มีหนังสือที่ พิเศษ/2551 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ถึงประธานมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อขอให้เข้าดำเนินการพัฒนาในพื้นที่ เนื่องจากมีปัญหาประชาชนขยายการปลูกข้าวโพดเพิ่มมากขึ้น มีการตัดไม้ทำลายป่า และใช้สารเคมีทางการเกษตรสูง มูลนิธิโครงการหลวงจึงมอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงเข้าช่วยเหลือ โดยได้ดำเนิน “โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม” ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552

สถานที่ตั้งของโครงการ

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม มีพื้นที่ดำเนินงาน 6 หมู่บ้าน ของตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัด น่าน ความสูง  ๓๖๙ เมตรจากระดับน้ำทะเล ปานกลาง พิกัด X 713513.00 Y 2084649.00  อยู่ห่างจากตัวจังหวัดน่าน ระยะทาง 45 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 1 ชั่วโมง

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน

หมู่บ้าน

ตำบล

ความสูงจากระดับน้ำทะเล   ปานกลาง(เมตร)

บริบทของพื้นที่

ครัวเรือน

ประชากรรวม

ชนเผ่า

1.บ้านนาหมัน

แม่จริม

359

นาข้าว ข้าวโพด

103

450

พื้นเมือง

2.บ้านตอง

แม่จริม

376

นาข้าว ข้าวโพด

116

438

พื้นเมือง

3.บ้านตองเจริญราษฎร์

แม่จริม

374

ข้าวไร่ ข้าวโพด

106

427

พื้นเมือง

4.บ้านบอน

แม่จริม

386

นาข้าว ข้าวโพด

112

450

พื้นเมือง

5.บ้านฝาย

แม่จริม

330

นาข้าว ข้าวโพด

91

333

พื้นเมือง

6.บ้านก้อ

แม่จริม

342

นาข้าว ข้าวโพด

59

227

พื้นเมือง

รวม

587

2,325

 

สภาพพื้นที่ของโครงการ

มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเชิงเขาสลับกับที่ราบเชิงเขาลุ่มน้ำมวบ ส่วนใหญ่มีความสูง 400-500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีพื้นที่ 52.631 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 31,445.79ไร่ สภาพพื้นที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเชิงเขาสลับกับที่ราบเชิงเขาลุ่มน้ำมวบ พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพถูกนำมาใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร ทำไร่ (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง) โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 22,158ไร่คิดเป็น 70%ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด (ข้อมูลขึ้นทะเบียนปี58 จาก สำนักงานเกษตรแม่จริม) และ ทำนา ทำสวน (ลำไย ลิ้นจี่)  ทำสวนยางพารา  เลี้ยงสัตว์ และอาชีพนอกภาคการเกษตรได้แก่ หัตถกรรม จักสานหวาย และทำไม้กวาดดอกหญ้า

สภาพภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของพื้นที่ลุ่มน้ำมวบ แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ

ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม มีฝนตกชุก

ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์ ในเดือนธันวาคม - มกราคม จะมีอากาศหนาว เฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียส กลางคืนโดยเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส

แหล่งน้ำในพื้นที่โครงการ

1) น้ำมวบ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ มีทิศการไหลไปยังทิศตะวันตก ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำ และไหลผ่านหมู่บ้านตอง แล้วไหลวกขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

2) ห้วยหมัน เป็นลำน้ำสาขาของน้ำมวบ มีต้นกำเนิดจากภูเขาทางทิศออกเฉียงใต้ของพื้นที่ มิทศการไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านบ้านนาหมัน ก่อนไหลลงสู่น้ำมวบ

3) อ่างเก็บน้ำห้วยปรุง เป็นอ่างเก็บน้ำจากลำห้วยเพื่อใช้ในการเกษตร อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านฝายหมู่ 2

4) ฝายทดน้ำขนาดเล็ก จำนวน 2 แห่ง คือฝายก้อหลวง อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านก้อ และฝายบ้านก้อ อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านก้อ

5) สระน้ำสาธารณะผิวดิน 3 แห่ง

ข้อมูลคุณภาพลุ่มน้ำ

อยู่ในลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำยาว 2 ลุ่มน้ำ หลักคือลุ่มน้ำน่าน มีการแบ่งชั้นคุณภาพลุ่มน้ำออกเป็น 4 ประเภท ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 คิดเป็นร้อยละ 44.57 รองลงมาอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ  3 คิดเป็นร้อยละ 23.51 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A คิดเป็นร้อยละ 22.25

ข้อมูลทรัพยากรดิน

กลุ่มดิน มีการจำแนกพื้นที่ตามกลุ่มชุดดินหลัก ๆ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 3, 6, 33, 59 และ 62

กลุ่มชุดดินดิน 3 เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนเป็นสีเทาเข้ม สีน้ำตาลปนเทาเข้ม ดินล่าง เป็นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างปริมาณ 5.5-6.5

กลุ่มชุดดินดิน 6  เนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีเทาแก่ ดินล่างมีสีน้ำตาลปนเทาหรือสีเทา มีจุดประสีน้ำตาลหรือสีแดงตลอดชั้นดินบางแห่งมีศิลาแลงอ่อน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำหรือค่อนข้างต่ำ pH 4.5- 5.5

สภาพเศรษฐกิจ

 พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม สภาพทั่วไปตั้งอยู่ในหุบเขามีที่ราบตามเชิงเขา มีพื้นที่เป็นเนินเขามากกว่าที่ราบ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง ๓๓๐-๔๐๐ เมตร พื้นที่ทำการเกษตร 20,171  ไร่ โดยส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และอุทยานแห่งชาติดอยภูคา และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่อยู่นอกเขตป่าโดยเป็นพื้นที่มี ฉโนด นส.3 สปก. และพื้นที่กันออกจากเขตอุทยาน การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ จะเป็น นาข้าว ข้าวไร่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง และยางพารา ร้านค้าภายในชุมชนเป็นร้านค้าปลีกเครื่องอุปโภคบริโภคขนาดเล็ก มีจำนวน  18 ร้าน

โครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม สภาพถนนทางเข้าหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง ขนาด 2 ช่องทาง ส่วนถนนในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ ขนาดความกว้าง 4 เมตร

ไฟฟ้า น้ำประปา ไฟฟ้า ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ น้ำประปา มีระบบประปาภูเขา 6 แห่ง บ่อบาดาล 3 แห่ง และประปาผิวดิน 1 แห่ง