
ข้อมูลทรัพยากรแร่ธาตุและธรณี
กลุ่มดิน มีการจำแนกพื้นที่ตามกลุ่มชุดดินหลัก ๆ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 3, 6, 33, 59 และ 62
กลุ่มชุดดินดิน 3 เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนเป็นสีเทาเข้ม สีน้ำตาลปนเทาเข้ม ดินล่าง เป็นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างปริมาณ 5.5-6.5
กลุ่มชุดดินดิน 6 เนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีเทาแก่ ดินล่างมีสีน้ำตาลปนเทาหรือสีเทา มีจุดประสีน้ำตาลหรือสีแดงตลอดชั้นดินบางแห่งมีศิลาแลงอ่อน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำหรือค่อนข้างต่ำ pH 4.5- 5.5
กลุ่มชุดดินดิน 33 เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทรายแป้ง ดินมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดง บางแห่ง ในดินล่างลึก ๆ มีจุดประสีเทาและน้ำตาล อาจมีแร่ไมก้าหรือก้อนปูนปะปน เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ
กลุ่มชุดดินดิน 59 มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ดินชั้นบนมี pH ประมาณ 6.5-7.5 ดินมีการผสมของดินหลายชนิด ซึ่งเกิดจากตะกอนลำน้ำพัดพามาทับถมกัน พบบริเวณที่ราบลุ่ม หรือบริเวณพื้นล่างของหุบเขา มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว มีลักษณะและคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น เนื้อดิน สีดิน ความลึกของดิน ปฏิกิริยาดิน ตลอดจนสมอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติไม่แน่นอขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุต้นกำเนิดดิน
กลุ่มชุดดินดิน 62 ดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 % ดินที่พบในบริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจาย
อัตราการชะล้างพังทลายของดิน
มีระดับการชะล้างพังทลายของดินสำหรับพื้นที่ราบ คิดเป็น ร้อยละ 11.77 ของพื้นที่ ได้แก่ ระดับ 1, 2, 3, 5 และมีระดับการชะล้างพังทลายสำหรับพื้นที่สูง คิดเป็นร้อยละ 88.33 ของพื้นที่ ได้แก่ ระดับ H1, H2, H3, H4, H5
ผลการตรวจวิเคราะห์ดิน
เป็นหินชั้นและหินแปรในช่วงยุดคาร์บอนิเฟอร์รัส ยุคจูแรสซิส และยุคพรีเมียน ได้แก่หินจำพวก หินทราย หินปูน หินเชลล์ หินเซิรต์ หินกรวด
สภาพปัญหาที่พบ |
แนวทางการแก้ไข |
1.ดินเป็นกรด 2.ดินมีค่า OM ต่ำ 3.ดินมีค่า P ต่ำ 4.ดินมีค่า K ต่ำ |
1.แนะนำให้ใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อแก้ปัญหา ดินกรด 2.แนะนำให้ทำปุ๋ยหมักร่วมกับการใช้สารเร่ง |