โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง น้ำแป่ง

ความเป็นมาของโครงการ

คณะกรรมการหมู่บ้านน้ำแป่ง หมู่ที่ 7 ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ได้มีหนังสือที่ พิเศษ/2551 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2551 ถึงประธานมูลนิธิโครงการหลวงเพื่อขอเข้าร่วมเป็นพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง เนื่องจากมีปัญหาประชาชนหันมาปลูกพืชล้มลุกโดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้น เกษตรกรไม่มีอาชีพอื่นที่มีรายได้แน่นอนและยั่งยืน การเพิ่มพื้นที่ในการทำการเกษตร บุกรุกป่า ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำการเกษตรใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมี กันอย่างแพร่หลาย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงขอเข้าร่วมโครงการขยายผลโครงการหลวง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพมั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป จึงได้มอบหมายให้ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงเข้ามาดำเนินการ ในปี งบประมาณ พ.ศ.2552 เป็นต้นมา

สถานที่ตั้งของโครงการ

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำแป่ง สำนักงานตั้งอยู่ที่ หมู่ที่  7  ตำบลผาทอง  พิกัดที่ WGS84 UTM Zone 47Q E 678516  N 2123117  มีความสูงของพื้นที่ระหว่าง  350 – 600  เมตร  จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำแป่ง มีพื้นที่รับผิดชอบ 6 หมู่บ้าน ในเขต 2 ตำบล คือผาทอง และผาตอ ของอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ได้แก่บ้านน้ำแป่ง หมู่ 7
บ้านวังผาง 
หมู่ 2 บ้านแหน1 หมู่1บ้านแหน3 หม่8  บ้านแหน2 หมู่3 บ้านน้ำกิ หมู่5  ประชากร 3 เผ่า คือ พื้นเมือง เมี่ยน  และขมุ ประชากรจำนวน 794 ครัวเรือน จำนวน 3,245 คน  

กลุ่มบ้าน

 ตำบล

ความสูงของพื้นที่ (เมตร)

บริบทของพื้นที่

ครัวเรือน

ประชากร (คน)

ชนเผ่า

บ้านน้ำแป่ง ม.7

ผาทอง

400 – 600

ข้าวไร่

65

409

เมี่ยน

บ้านวังผาง ม.2

ผาทอง

230 – 400

ข้าวนา

150

274

ขมุ เมี่ยน

บ้านแหน 3 ม.8

ผาทอง

230 – 400

ข้าวนา

95

375

พื้นเมือง

บ้านแหน 1 ม.1

ผาทอง

230 – 400

ข้าวนา

150

608

พื้นเมือง

บ้านแหน 2 ม. 3

ผาตอ

230 – 400

ข้าวนา

195

721

พื้นเมือง

บ้านน้ำกิ หมู่ 5

ผาทอง

400 - 700

ข้าวไร่

139

858

เมี่ยน

รวม

2

350 - 600

 

794

3,245

 

สภาพพื้นที่ของโครงการ

ลักษณะภูมิประเทศพื้นที่ร้อยละ 80 เป็นภูเขาสลับซับซ้อนและร้อยละ 20 เป็นที่ราบเชิงเขา มีพื้นที่ป่าดิบชื้น (ป่าต้นน้ำ) ประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่ มีความสูง 400-600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ ห้วยน้ำแป่ง ซึ่งเป็นลำห้วยสาขาของลำน้ำยาว 

  • ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาว, ป่าน้ำสวด
  • ชั้นลุ่มน้ำ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3

สภาพภูมิอากาศ

พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำแป่ง อุณหภูมิเฉลี่ย 25.9 องศาเซลเซียส โดยฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนพฤษภาคม เฉลี่ย 33 องศาเซลเซียส และฤดูหนาวมีอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคมและกุมภาพันธุ์ เฉลี่ย 10 องศาเซลเซียส ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-เดือนกันยายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100 มิลลิเมตรต่อปี

แหล่งน้ำในพื้นที่โครงการ

พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำแป่ง มีน้ำแป่งเป็นน้ำสายหลัก มีทิศทางการไหลจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกไหลผ่านบ้านน้ำแป่ง แล้วไหลวกขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนไหลไปราวกับน้ำกิ ซึ่งมีลำห้วย ลำน้ำสาขาได้แก่ น้ำแป่งน้อย ห้วยดู่ และห้วยไคร้ มีต้นกำเนิดจากดอยผาจ้อง ดอยกวาด ทางทิศตะวันตกของพื้นที่ สถานการณ์ปัจจุบันได้มีการจัดทำแหล่งน้ำไว้ เพื่อการอุปโภคบริโภค จากกรมชลประทาน สร้างถังเก็บพร้อมระบบส่งน้ำจำนวน 5 จุด 270 ลบ.ม. และได้จัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการเกษตรจำนวน 6 จุด ณ บ้านน้ำแป่ง จำนวน 5 จุด  บ้านวังผาง  จำนวน 1 จุด

ข้อมูลทรัพยากรดิน

ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำแป่งแบ่งเป็นกลุ่มดินในชุดที่ 62 ดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35% ดินที่พบในบริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่กระจัดกระจาย ลักษณะทางธรณีวิทยา พื้นที่ลุ่มน้ำแป่ง เป็นหินแปรในยุค Carboniferous ได้แก่หินประเภท Sandstone, shale, and chert และหินยุค Triassic ได้แก่หินประเภท shale and sandstone limestone และconglomerate

สภาพเศรษฐกิจ

ประชาชน ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และร้อยละ 10 ประกอบอาชีพอื่นๆ คือ รับจ้าง งานหัตถกรรม ค้าขาย รับราชการ และหาของป่า ทั้งนี้การเพาะปลูกเป็นแบบทำไร่หมุนเวียน โดยปลูกพืชหลัก คือ ข้าวไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  มีการใช้สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมีจำนวนมาก โดยมีพ่อค้าคนกลางนำเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยากำจัดวัชพืชมาจำหน่ายหรือลงทุนให้ก่อน และหักเงินคืนเมื่อรับซื้อผลผลิต มีการปลูกไม้ยืนต้นบางเล็กน้อย เช่นลำไยและลิ้นจี่ มีบางรายปลูกต้นมะแข่นตามหัวไร่ปลายนา เลี้ยง วัวพันธุ์พื้นเมืองบางคนก็รับจ้างเลี้ยงและบางคนเลี้ยงของตนเอง มีการเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูพันธุ์พื้นเมืองทุกหลังคาเรือน เพื่อบริโภคในครอบครัว และทำพิธีกรรมต่างๆ เมื่อมีเวลาว่างจะรับจ้างปักผ้า ตีเหล็ก ทำไม้กวาดดอกหญ้า