
สภาพเศรษฐกิจ
ประชาชน ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และร้อยละ 10 ประกอบอาชีพอื่นๆ คือ รับจ้าง งานหัตถกรรม ค้าขาย รับราชการ และหาของป่า ทั้งนี้การเพาะปลูกเป็นแบบทำไร่หมุนเวียน โดยปลูกพืชหลัก คือ ข้าวไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมีจำนวนมาก โดยมีพ่อค้าคนกลางนำเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยากำจัดวัชพืชมาจำหน่ายหรือลงทุนให้ก่อน และหักเงินคืนเมื่อรับซื้อผลผลิต มีการปลูกไม้ยืนต้นบางเล็กน้อย เช่นลำไยและลิ้นจี่ มีบางรายปลูกต้นมะแข่นตามหัวไร่ปลายนา เลี้ยง วัวพันธุ์พื้นเมืองบางคนก็รับจ้างเลี้ยงและบางคนเลี้ยงของตนเอง มีการเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูพันธุ์พื้นเมืองทุกหลังคาเรือน เพื่อบริโภคในครอบครัว และทำพิธีกรรมต่างๆ เมื่อมีเวลาว่างจะรับจ้างปักผ้า ตีเหล็ก ทำไม้กวาดดอกหญ้า
ปัจจุบันโครงการพัฒนาแบบพื้นที่สูงน้ำแป่งได้พัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชนโดยการส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร โดยประกอบด้วย ส่งเสริมการปลูก พืชผักในและนอกโรงเรือนเพื่อจำหน่ายตลาดชุมชน/ตลาดข้อตกลง สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตพืชไร่ (ข้าวไร่ และถั่ว) ส่งเสริมปลูกไม้ผลที่มีความเหมาะสม กับสภาพพื้นที่ ได้แก่ มะม่วง เงาะ อาโวกาโด เสาวรสหวาน ทดแทนการปลูกพืชไร่ ส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์และประมง หมู ไก่ ปลา และกบ เพื่อสร้างรายได้เสริม และเพื่อการบริโภค
ข้อมูลรายได้
รายได้หลักจากการเกษตร
รายได้จากอาชีพรับจ้างและค้าขาย
รายได้หลักสูงสุด 85,500 บาท รายได้จากอาชีพอื่นสูงสุด 55,000 บาท
รายได้หลักต่ำสุด 1,500 บาท รายได้จากอาชีพอื่นต่ำสุด 3,000 บาท
รายได้จากอาชีพอื่นเฉลี่ยต่อปี 28,500 บาท
รายได้จากอาชีพอื่นเฉลี่ยต่อปี 26,500 บาท
หมู่บ้าน |
ตำบล |
รายได้ต่อครัวเรือน |
บ้านน้ำแป่ง ม.7 |
ตำบลผาทอง |
115,500 |
บ้านวังผาง ม.2 |
ตำบลผาทอง |
112,000 |
บ้านแหน 3 ม.8 |
ตำบลผาทอง |
153,000 |
บ้านแหน 1 ม.1 |
ตำบลผาทอง |
125,000 |
บ้านแหน 2 ม. 3 |
ตำบลผาตอ |
167,000 |
บ้านน้ำกิ หมู่ 5 |
ตำบลผาทอง |
114,600 |
รวม |
2 |
|
คิดเป็นร้อยละ 5.10 ของพื้นที่โครงการฯ เขตชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 545 ไร่ หรือร้อยละ 1.80 ของพื้นที่โครงการฯ
(ที่มา ส่วนวางแผนการใช้ที่ดินที่ 2 สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดินกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมษายน 2551)
แหล่งเงินทุน
ชุมชนได้รับการสนับสนุนงบประมาณในรูปแบบแผนงาน / โครงการของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ด้านปัจจัยการผลิตหรือเงินกองทุน โดยการบริหารของชุมชนจัดการให้เกิดประโยชน์ สมาชิกมีโอกาสใช้เงินกองทุนอย่างทั่วถึง ในปัจจุบันมีกองทุนหมุนเวียนต่าง ๆ ได้แก่ กองทุนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กองทุนสหกรณ์ กองทุน กขคจ. และกองทุนสงเคราะห์ราษฎร