ความเป็นมาของโครงการ

ความเป็นมาของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสะเนียน สืบเนื่องจากเครือข่ายองค์กรชาวบ้านที่มีอยู่ในพื้นที่จังหวัดน่าน (เครือข่ายทรัพยากรป่าไม้ชุมชนและเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน) ได้เล็งเห็นสถานการณ์ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูงในจังหวัดน่าน จึงร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงและบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเชิงอนุรักษ์บนพื้นที่สูงเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรดินที่เสื่อมโทรมจากาการทำการเกษตรพื้นที่สูงโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยได้ขออนุมัติคณะทำงานปลูกหญ้าแฝกมูลนิธิโครงการหลวงเพื่อส่งเสริมกิจกรรมดังกล่าวในการประชุมคณะทำงานปลูกหญ้าแฝก มูลนิธิโครงการหลวงเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และที่ประชุมได้มีมติให้ส่งเสริมการปลูกพืชเพื่อเป็นรายได้แก่ครอบครัว ควบคู่ไปกับการปลูกหญ้าแฝกด้วย เพื่อเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืนโดยมูลนิธิโครงการหลวง (หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี) มอบให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้าร่วมกับเครือข่ายจังหวัดน่านเพื่อดำเนินการ ดังกล่าว
สถานที่ตั้งของโครงการ
ที่ตั้ง: ตำบลสะเนียน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
พิกัด:WGS84 UTM Zone 47Q E 676583 N 2091264
มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ |
ติดกับเขตพื้นที่ |
ต.บ่อ อ.เมืองน่าน จ.น่านและ ต.ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา |
ทิศใต้ |
ติดกับเขตพื้นที่ |
ต.ถืมตอง อ.เมืองน่าน จ.น่าน และ ต.แม่ขะนิง อ.เวียงสา จ.น่าน |
ทิศตะวันออก |
ติดกับเขตพื้นที่ |
ต.ผาสิงห์ อ.เมืองน่าน จ.น่าน |
ทิศตะวันตก |
ติดกับเขตพื้นที่ |
ต.สวด อ.บ้านหลวง จ.น่านและ ต.สระ อ.เชียงม่วน จ. พะเยา |

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน
สภาพพื้นที่ของโครงการ
พื้นที่เป็นที่ราบตามไหล่เขา ระดับความสูง 320 - 400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปางกลางตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาว-น้ำสวด ในเขตป่าอนุรักษ์ โซน Cอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 2

สภาพเศรษฐกิจ

ประชาชน ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และร้อยละ 5 ประกอบอาชีพอื่นๆ คือ รับจ้าง งานหัตถกรรม ค้าขาย รับราชการ และหาของป่า ทั้งนี้การเพาะปลูกเป็นแบบทำไร่หมุนเวียน โดยปลูกพืชหลัก คือ เงาะข้าวไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมีจำนวนมาก และทำพิธีกรรมต่างๆ เมื่อมีเวลาว่างจะรับจ้างปักผ้า คนหนุ่มสาวจะไปขายน้ำเต้าหู้ นอกหมู่บ้านจะส่งเงินมาให้กับพ่อแม่ทางบ้านช่วงเทศกาละกลับมาครั้งหนึ่ง
สภาพสังคมในพื้นที่โครงการ
ด้านสาธารณสุข มีหน่วยงานด้านสาธารณสุขตั้งอยู่ในชุมชน จำนวน 3 แห่ง มีพยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 9 คน อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 และมีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน จำนวน 14 แห่ง

โครงสร้างพื้นฐาน

ไฟฟ้า ทุกหลังคาเรือนมีไฟฟ้าใช้ แต่จะพบปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง
น้ำอุปโภคและบริโภค ทุกหลังคาเรือนมีน้ำใช้โดยเป็นระบบประปาภูเขา แต่มีปัญหาในฤดูแล้งน้ำไม่เพียงพอ และไม่สะอาดเท่าที่ควร สำหรับระบบน้ำเพื่อการเกษตรพบว่าขาดแคลนเป็นอย่างมากเนื่องจากลำห้วยที่อยู่ระดับสูงกว่าหมู่บ้านเมื่อก่อสร้างฝายหรือระบบประปาภูเขาแล้วนำน้ำมาใช้ไม่เพียงพอเพราะต้นทุนน้ำมีน้อย และส่วนลำห้วยที่มีขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำเพียงพอก็อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นที่ทำการเกษตรและที่ตั้งชุมชน ถ้าจะนำน้ำขึ้นมาใช้ต้องมีเครื่องจักรหรือไฟฟ้าสูบขึ้นมาซึ่งตรงนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง