โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ปางแดงใน

ความเป็นมาของโครงการ

เมื่อปี พ.ศ. 2549 มูลนิธิโครงการหลวงได้สนับสนุนให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ดำเนินการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกหญ้าแฝกร่วมกับชุมชนในท้องถิ่นตามโครงการปลูกหญ้าแฝกเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาส ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงดำเนินงานพัฒนาการเกษตรควบคู่กับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อสนับสนุนให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบนครอบคลุมหมู่บ้านในอำเภอเชียงดาว ต่อมาสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงได้หารือร่วมกับชุมชนและโครงการจัดการลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการปลูกหญ้าแฝกร่วมกับ ปตท. โดยได้คัดเลือกหมู่บ้านปางแดงในซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่ดอนอาศัยน้ำฝน เกษตรกรมีความยากจน และผลผลิตทางการเกษตรต่ำ โดยได้ตกลงที่จะร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงชุมชนในท้องถิ่น ในการดำเนินงานการพัฒนาโดยนำองค์ความรู้จากโครงการหลวงไปถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมในพื้นที่ดังกล่าว  ปีที่เริมดำเนินงาน : พ.ศ. 2549

สถานที่ตั้งของโครงการ

ที่ตั้ง  :  บ้านปางแดงใน หมู่ที่ 9 ตำบลเชียงดาว  อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่

พิกัด  :  E 503689  N 2139324

มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ

ติดกับเขตพื้นที่

ดอยผาดอกเอื้อง ตำบลเชียงดาว  อำเภอเชียงดาว อำเภอเชียงดาว

ทิศใต้    

ติดกับเขตพื้นที่

ดอยผาสามเส้า ดอยสันกลางห้วยนก ตำบลแม่นะ
อำเภอเชียงดาว

ทิศตะวันออก

ติดกับเขตพื้นที่

ดอยจอมหด ตำบลน้ำแพร่ ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว

จังหวัดเชียงใหม่

ทิศตะวันตก  

ติดกับเขตพื้นที่

ดอยสันแม่มอย ตำบลแม่นะ ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน

หมู่บ้าน

ตำบล

ความสูง (เมตร)

บริบทพื้นที่

ครัวเรือน

ประชากร (คน)

ชนเผ่า

1. บ้านปางแดงใน

เชียงดาว

500-900

ไม้ผล  

66

367

ดาราอั้ง

2. บ้านแม่จอน

เชียงดาว

500-900

ไม้ผล

56

272

ดาราอั้ง, ลาหู่

3. บ้านท่าขี้เหล็ก

เชียงดาว

500-900

ไม้ผล

25

120

ปกาเกอะญอ

4. บ้านผาลาย

เชียงดาว

500-900

ไม้ผล 

147

850

ปกาเกอะญอ,ลีซู, อาข่า

5. บ้านห้วยปง

แม่นะ

500-900

ไม้ผล 

95

460

ลาหู่, ดาราอั้ง

รวม

2

500-900

 

389

2,069

 

สภาพพื้นที่ของโครงการ

อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเชียงดาว และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 500-900 เมตร มีลักษณะสูงชันถึงสูงชันมาก มีพื้นที่คิดเป็นคิดเป็นร้อยละ 26.40 และร้อยละ 35.86 ตามลำดับ และมีพื้นที่ราบเรียบถึงค้อนข้างราบเรียบ คิดเป็นร้อยละ 15.95 ของพื้นที่ และอยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 62 ร้อยละ 85.76 และชุดดินที่ 29 ร้อยละ 14.24 ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ มีระดับการชะล้างพังทลายของดินในระดับน้อยสำหรับดินบนพื้นที่สูง ร้อยละ 68.76 ระดับปานกลาง ร้อยละ 19.42 และระดับน้อยมากในที่ราบ ร้อยละ 11.80

สภาพภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศเป็นลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นทั่วไป ประกอบด้วย อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปี 26.3 องศาเซลเซียส สูงสุด 33.4 องศาเซลเซียส เฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 19.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,156 มิลลิเมตร

แหล่งน้ำในพื้นที่โครงการ

แหล่งน้ำผิวดิน มีห้วยอีโก๋ เป็นห้วยสายหลักมีต้นกำเนิดมีจากภูเขาทางด้านทิศตะวันออก ลำห้วยมีทิศการไหลไปทางทิศตะวันตก ลำห้วยไหลรวมกับลำห้วยป่าไร่ก่อนผ่านบ้านปางแดงในแล้วไหลลงห้วยแม่เตาะซึ่งไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง ทางทิศตะวันตก มีลำห้วยที่อยู่ข้างเคียงคือห้วยป่าเมี่ยง อยู่ทางทิศตะวันออก ห้วยแม่เตาะ อยู่ทางทิศเหนือ และห้วยปางดอกอยู่ทางทิศใต้ ของพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางแดงใน

สภาพเศรษฐกิจ

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางแดงใน เกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพหลักคือการปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด และถั่วนิ้วนางแดง รวมทั้งปลูกไม้ผล เช่น ลำไย และมะม่วง อาชีพรองคือเลี้ยงสัตว์ และงานหัตถกรรม ประชาชนมีรายได้โดยเฉลี่ย ประมาณ 50,000–200,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี รายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร

สภาพสังคมในพื้นที่โครงการ

กลุ่มบ้านในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางแดงใน ทั้ง 5 กลุ่มบ้าน มีประชากรจำนวน 389 ครัวเรือน จำนวน 2,096 คน ประกอบด้วย 5 เผ่า คือ ดาราอั้ง, ลีซู, ปกาเกอญอ อาข่า และลาหู่ 

ด้านการศึกษา
การศึกษาของประชาชนในพื้นที่มีทั้งที่ไม่ได้รับการศึกษา และมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จนถึงระดับปริญญาตรี โดยในพื้นที่มีสถานศึกษาอยู่ 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านปางแดง 1 แห่ง และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” 3 แห่ง ได้แก่ ศศช.บ้านห้วยปง, ศศช.บ้านแม่จอน และศศช.บ้านผาลาย

โครงสร้างพื้นฐาน

มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 4 ชุมชน ได้แก่ บ้านปางแดงใน บ้านท่าขี้เหล็ก บ้านผาลาย และบ้านห้วยปง และไม่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 1 ชุมชน ได้แก่ บ้านแม่จอน

น้ำอุปโภคและบริโภค ทุกหลังคาเรือนมีน้ำใช้โดยเป็นระบบประปาภูเขา แต่มีปัญหาในฤดูแล้งน้ำไม่เพียงพอ และไม่สะอาดเท่าที่ควร และมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 2 ชุมชน ได้แก่ บ้านแม่จอน และบ้านผาลาย