สภาพเศรษฐกิจ

 

ประชาชน ร้อยละ 98 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และร้อยละ 2 ประกอบอาชีพอื่นๆ คือ รับจ้าง งานหัตถกรรม ค้าขาย และหาของป่า ทั้งนี้การเพาะปลูกเป็นแบบทำไร่หมุนเวียน โดยปลูกพืชหลัก คือ ข้าวไร่ ข้าวนาและมะเขือเทศ พริกแดง  มีการใช้สารเคมีในการกำจัดโรคแมลง กำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมีจำนวนมาก โดยมีพ่อค้าคนกลางนำเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยากำจัดโรคแมลง และกำจัดวัชพืช มาจำหน่ายหรือลงทุนให้ก่อน และหักเงินคืนเมื่อรับซื้อผลผลิต มีการปลูกไม้ยืนต้นบางเล็กน้อย เช่น อะโวคาโด เกษตรกรมีการเลี้ยง กระบือของตนเอง มีการเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูพันธุ์พื้นเมืองทุกหลังคาเรือน เพื่อบริโภคในครอบครัว และทำพิธีกรรมต่างๆ เมื่อมีเวลาว่างผู้หญิงจะทำงานหัตถกรรม ผู้ชายจะออกหาของป่า 

 


ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

1. การกระจายตัวของรายได้ยังไม่ทั่วถึง

2. รายได้ไม่เพียงพอต่อครัวเรือน และขาดพืชทางเลือกในการประกอบอาชีพ

การดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบโขงได้พัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชนโดยการส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร โดยประกอบด้วย ส่งเสริมการปลูก พืชผักในและนอกโรงเรือนเพื่อจำหน่ายตลาดชุมชน/ตลาดข้อตกลง สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตพืชไร่ (ข้าวไร่ ข้าวนาและถั่ว) ส่งเสริมปลูกไม้ผลที่มีความเหมาะสม กับสภาพพื้นที่ ได้แก่ อาโวกาโด เสาวรสหวาน ส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ ได้แก่ หมู ไก่ เพื่อสร้างรายได้เสริม  และพัฒนางานหัตถกรรมท้องถิ่นเดิมเพื่อเพิ่มรายได้  โดย ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 148,149.86 บาท ต่อ ครัวเรือนต่อปี ดังตารางแสดงรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน

 

ตารางแสดงรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน

 

หมู่บ้าน

ตำบล

รายได้ต่อครัวเรือน

1.บ้านแม่หลองน้อย หมู่ที่ 2

สบโขง

151,561.72 บาท

2.บ้านบูแมะ หมู่ที่ 2

สบโขง

3.บ้านแม่หลองหลวง หมู่ที่ 3

สบโขง

190,397.37 บาท

4.บ้านกออึ หมู่ที่ 3

สบโขง

5.บ้านพะเบี้ยว หมู่ที่ 11

สบโขง

121,500.00 บาท

6.บ้านแม่หลองใต้ หมู่ที่ 1

สบโขง

129,140.34 บาท

รายได้เฉลี่ย

 

148,149.86 บาท