สภาพเศรษฐกิจ

 

ประชาชนส่วนใหญ่ คือร้อยละ 95 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น รับจ้าง งานหัตถกรรม ค้าขาย และรับราชการ ทั้งนี้การทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงการค้าจำนวนมากโดยการส่งเสริมของภาคธุรกิจเอกชน  พืชหลักที่ปลูก พริก มันฝรั่ง ข้าวโพดอาหารสัตว์ มันสำปะหลัง ดอกกุหลาบ ผักกาดขาวปลี ดอกดาวเรือง และกะหล่ำปลี ทำให้เกษตรกรมีปัญหารายได้ไม่แน่นอน ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพและมีหนี้สิน และยังมีการใช้สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมีจำนวนมาก โดยมีพ่อค้าคนลงทุนปัจจัยการผลิตให้ก่อน และหักเงินคืนเมื่อรับซื้อผลผลิต สำหรับการปลูกไม้ยืนต้นจะมีอะโวคาโดพันธุ์พื้นเมืองอย่างเดียว ส่วนการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรบางรายมีการเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองเป็นอาชีพ มีการเลี้ยงไก่ และหมูพันธุ์พื้นเมือง เพื่อบริโภคในครัวเรือน และทำพิธีกรรมต่างๆในทุกครอบครัว และมีอาชีพนอกภาคเกษตรในเวลาว่างบ้าง เช่น รับจ้างปักผ้า ทำไม้กวาดดอกหญ้า

ปัจจุบันโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงพบพระได้พัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชนโดยการส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร โดยประกอบด้วย ส่งเสริมการปลูกพืชผักในโรงเรือน ได้แก่ พริกหวาน มะเขือเทศโทมัส ผักนอกโรงเรือนแตงกวาญี่ปุ่น ฟักทองญี่ปุ่น บีทรูท พริกซุปเปอร์ฮอต เพื่อจำหน่ายตลาดชุมชน/ตลาดข้อตกลง สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตพืชไร่ (เฮมพ์) ส่งเสริมปลูกไม้ผลที่มีความเหมาะสม กับสภาพพื้นที่ ได้แก่ เสาวรสหวานพันธุ์ไทนุง อะโวคาโดพันธุ์แฮสต์ บัคคาเนีย ปีเตอร์สัน และปลูกพลับพันธุ์พี 2 พันธุ์ฟูยู ทดแทนการปลูกพืชไร่ ส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ สุกร เพื่อสร้างรายได้เสริม และเพื่อการบริโภค

 


ปัญหา อาชีพหลักคือทำการเกษตร  ได้แก่  ปลูกพืชเศรษฐกิจแบบมีพันธสัญญาโดยการส่งเสริมของภาคธุรกิจเอกชน  ได้แก่  มะเขือเทศ  พริก มันฝรั่ง ข้าวโพดอาหารสัตว์ มันสำปะหลัง ดอกกุหลาบ ผักกาดขาวปลี ดอกดาวเรือง และกะหล่ำปลี  มีการใช้สารเคมีสูงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรขาดความรู้และความเข้าใจในการปลูกและการดูแลรักษาพืช รวมถึงขาดเทคนิควิธีการในการจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช รายได้ไม่แน่นอน ผลผลิตต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง และขาดการรวมกลุ่มภายในชุมชนเพื่อการจำหน่ายสินค้าการเกษตร แหล่งน้ำทางการเกษตรและพื้นที่ทำกินไม่เพียงพอต่อครัวเรือน

ความต้องการ พัฒนาอาชีพและสร้างรายได้จากพืชเดิม และพืชใหม่ตามศักยภาพของพื้นที่ ในความรู้การปลูกพืช การใช้สารเคมีที่ถูกต้อง การลดการใช้สารเคมี การปลูกไม้ผลเมืองหนาวเพื่อเพิ่มรายได้ และสนับสนุนจัดทำระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้พึ่งพาปัจจัยจากภายนอกให้น้อยลง ส่งเสริมอาชีพนอกภาคการเกษตรเพื่อเสริมรายได้ให้กับครัวเรือน ให้ความรู้การปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต เพิ่มความรู้ในการปลูกพืชแบบใช้พื้นที่น้อยและประหยัดน้ำ ส่งเสริมการรวมกลุ่มเป็นสถาบันเกษตรกรและช่องทางการตลาดในการกระจายผลผลิต เพื่อเป็นกลไกในการรับรองผลผลิตในระดับชุมชน และขยายไปตลาดนอกชุมชนระยะต่อไป

 


รายได้ต่อคนต่อปีและรายได้ต่อครัวเรือนต่อปี

ทั้งนี้จากข้อมูล จปฐ. ปี พ.ศ. 2559 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีต่ำสุด 20,430.01 บาท สูงสุด 103,562.45 บาท และ รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีต่ำสุด 102,150.05 บาท รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีสูงสุด 329,598.55 บาท ดังตาราง 

 

ตารางที่ 2  รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีและรายได้ต่อครัวเรือนต่อปี

หมู่ที่

หมู่บ้าน

ตำบล

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี(บาท)

รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปี(บาท)

1

บ้านอุ้มเปี้ยม

คีรีราษฎร์

20,430.01

102,150.05

2

บ้านแม่ละเมา

คีรีราษฎร์

31,731.92

158,655.6

3

บ้านป่าหวาย

คีรีราษฎร์

25,217.90

126,089.5

4

บ้านป่าคา

คีรีราษฎร์

24,687.06

123,435.3

5

บ้านร่มเกล้าสหมิตร

คีรีราษฎร์

42,485.80

212,429

6

บ้านป่าคาใหม่

คีรีราษฎร์

41,179.37

205,896.85

7

บ้านป่าคาเก่า

คีรีราษฎร์

30,337.20

151,686

8

บ้านชิบาโบ

คีรีราษฎร์

29,697.65

148,488.25

9

บ้านใหม่คีรีราษฎร์

คีรีราษฎร์

65,919.71

329,598.55

10

บ้านใหม่ยอดคีรี

คีรีราษฎร์

21,982.30

109,911.5

11

บ้านใหม่ดินแดง

คีรีราษฎร์

32,629.20

163,146

12

บ้านห้วยไผ่

คีรีราษฎร์

26,214.08

131,070.4

13

บ้านร่มเกล้าเจริญสุข

คีรีราษฎร์

42,485.80

212,429

14

บ้านคีรีน้อย

รวมไทยพัฒนา

33,487.25

152,744

15

บ้านพะดี

รวมไทยพัฒนา

43,053.30

218,948

16

บ้านรวมไทยพัฒนา7

รวมไทยพัฒนา

45,562.45

205,984

17

บ้านทหารผ่านศึก

รวมไทยพัฒนา

33,562.20

169,304

18

บ้านเก้ารวมไทย

รวมไทยพัฒนา

36,812.71

194,530

19

บ้านรวมไทยพัฒนา8

รวมไทยพัฒนา

55,800.65

176,618

20

บ้านห้วยน้ำเย็น

รวมไทยพัฒนา

41,795.50

224,599

21

บ้านเจริญมิตร

รวมไทยพัฒนา

41,688.50

160,962

22

บ้านรวมไทยสามัคคี

รวมไทยพัฒนา

37,799.20

196,862

23

บ้านรวมไทยพัฒนา1

รวมไทยพัฒนา

39,754.38

169,769

24

บ้านเสริมสุข

รวมไทยพัฒนา

37,638.05

179,244

 


 

ประชากรแยกออกตามวัยช่วงอายุ

          จำนวนประชากรแยกออกเป็นวัยดังนี้ ช่วงอายุวัยแรงงาน 5,732 คน มีจำนวนสูงสุด  ช่วงวัยสูงอายุต่ำสุด 796 คน ดังตาราง

 

ตาราง ช่วงอายุของประชากร(ตำบลคีรีราษฎร์)

ช่วงอายุ

ชาย

หญิง

รวม

วัยเด็ก (0 – 5 ปี)

1,302

1,220

2,522

วัยการศึกษา (6 –9 ปี)

1,091

1,053

2,144

วัยการศึกษา (10-14ปี)

1,183

1,198

2,381

วัยเยาวชน (15-19 ปี)

1,031

963

1,994

วัยเยาวชน (20-24 ปี)

918

874

1,792

วัยแรงงาน (25-29 ปี)

743

675

1,418

วัยแรงงาน (30-34 ปี)

618

570

1,188

วัยแรงงาน (35-39ปี)

413

424

837

วัยแรงงาน (40-49ปี)

646

713

1,359

วัยแรงงาน (50-59ปี)

444

486

930

วัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)

373

423

796

รวม

8,762

8,599

17,361