
สภาพสังคมในพื้นที่โครงการ
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงขุนสถาน มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 7 หมู่บ้าน คือในเขตตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน จำนวน 6 หมู่บ้าน และในเขตตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ จำนวน 1 หมู่บ้าน ครอบคลุมประชากร 2 ชนเผ่า คือ ม้งและพื้นเมือง มีประชากร จำนวน 1,272 ครัวเรือน 6,658 คน โดยจำแนกตามช่วงอายุต่างๆ ดังนี้
ลำดับ |
ช่วงอายุ |
ขุนสถาน |
แสนสุข |
เชตวัน |
ส้าน |
ใหม่หัวดง |
ห้วยส้ม |
แม่แรม |
รวม |
1 |
แรกเกิด-15 ปี |
429 |
404 |
176 |
98 |
90 |
82 |
790 |
2,069 |
2 |
15-30 ปี |
303 |
306 |
200 |
93 |
99 |
102 |
553 |
1,656 |
3 |
30-45 ปี |
200 |
170 |
262 |
130 |
127 |
110 |
355 |
1,354 |
4 |
45-60 ปี |
105 |
99 |
274 |
122 |
113 |
95 |
177 |
985 |
5 |
60 ปี ขึ้นไป |
58 |
81 |
155 |
65 |
78 |
58 |
99 |
594 |
รวม |
1,095 |
1,060 |
1,067 |
508 |
507 |
447 |
1,974 |
6,658 |
ด้านการศึกษา บ้านขุนสถานมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง มีครู 2 คน นักเรียน 56 คน
มีโรงเรียนอยู่ในเขตบ้านแสนสุข 1 แห่ง ชื่อโรงเรียนประกิตเวชศักดิ์ สอนประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีครู จำนวน 28 คน นักเรียน 436 คน และมีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านขุนสถาน 2 แห่ง
ด้านสังคมและชุมชน มีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน มีที่อ่านหนังสือประจำ มีอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน ศาสนสถาน โบสถ์คริสต์ 1 แห่ง บ้านขุนสถาน มีร้านค้า 7 แห่ง
มีปั๊มน้ำมันหลอด 3 แห่ง บ้านแสนสุข มีร้านค้า 3 แห่ง ปั๊มน้ำมันหลอด 2 แห่ง มีแหล่งตลาด/จุดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร 1 แห่ง
มีการจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ได้แก่
1) กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
2) กลุ่มสหกรณ์การเกษตร
3) กลุ่มผู้ปลูกผักในโรงเรือน
4) กลุ่มผู้ปลูกไม้ผล
แหล่งสินชื่อ และเงินทุน
1) เงินกองทุนหมู่บ้าน
2) พ่อค้า/นายทุน
3) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำกัด
4) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดน่าน
ปัจจุบันโครงการพัฒนาแบบพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงขุนสถานได้พัฒนางานด้านสังคมและชุมชน ให้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยการสนับสนุนการทำแผนชุมชน และการขับเคลื่อนการ นำไปใช้ประโยชน์ 4 พื้นที่ 4 ด้านหลัก คือส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่ม ได้แก่กลุ่มไม้ผล กลุ่มปลูกผัก การจัดตั้งกลุ่มและกองทุนเพื่อให้เกษตรกรบริหารจัดการตนเองได้ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเตรียมสหกรณ์ การพัฒนาตลาดผลผลิตในชุมชน การพัฒนาหมู่บ้านสะอาดชุมชนเข้มแข็ง และสนับสนุนกิจกรรมวัฒนธรรมชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมถึงงานบูรณาการในพื้นที่