โครงสร้างพื้นฐาน

 

ทุกกลุ่มบ้านและหลังคาเรือนในพื้นที่ดำเนินงานของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง มีไฟฟ้าใช้ แต่มีปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องบ้างเมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง มีน้ำอุปโภคและบริโภคทุกหลังคาเรือนโดยเป็นระบบประปาภูเขา แต่ไม่เพียงพอในฤดูแล้งและไม่สะอาดเท่าที่ควร และมีปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรมาก เนื่องจากลำห้วยขนาดใหญ่และที่มีปริมาณน้ำเพียงพออยู่ต่ำกว่าระดับพื้นที่ทำการเกษตรและพื้นที่ตั้งชุมชน ในขณะที่ฝายและระบบประปาภูเขาที่อยู่สูง น้ำต้นทุนมีน้อย ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้รับการพัฒนาแหล่งน้ำจากหน่วยงานต่างๆแล้วบางส่วน เช่น การสร้างบ่อน้ำบาดาล ปริมาณน้ำ 5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง พร้อมถังเก็บน้ำขนาด 12 ลูกบาศก์เมตร จากศูนย์ทรัพยากรภาค 6 จังหวัดลำปาง การสร้างถังเก็บน้ำขนาด 270 ลูกบาศก์เมตร พร้อมฝายต้นน้ำจำนวน 2 ฝายและระบบส่งน้ำระยะทาง 4,100 เมตร จากโครงการชลประทานจังหวัดน่าน ในตำบลชนแดนมี แหล่งน้ำธรรมชาติมีลำห้วย 5 สายและแม่นา 1 สาย และมีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่ ประปาภูเขาประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง, บ่อโยก จำนวน 2 แห่ง, บ่อน้ำตื้น จำนวน 4 แห่ง, ฝายกั้นน้ำ จำนวน 7 แห่ง และอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง

ด้านการคมนาคมขนส่ง กลุ่มบ้านทั้งหมดมีถนนคอนกรีตเข้าถึง มีเพียงถนนภายในหมู่บ้านบางจุดที่เป็นที่ยังเป็นถนนลูกรัง การติดต่อระดับหมู่บ้านใช้ถนนสายหลักคือ ถนนสายสองแคว -จุดผ่อนปรนชายแดนไทย - สปป.ลาว มีถนนลาดยาง ส่วนด้านการสื่อสาร มีโทรศัพท์สาธารณะใช้ในหมู่บ้าน และประชาชนส่วนใหญ่มีโทรศัพท์มือถือใช้เกือบทุกครัวเรือน