
สภาพเศรษฐกิจ
ประชาชน ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และร้อยละ 5 ประกอบอาชีพอื่นๆ คือ รับจ้าง ค้าขาย รับราชการ และหาของป่า ทั้งนี้การเพาะปลูกเป็นแบบทำไร่หมุนเวียน โดยปลูกพืชหลัก คือ ข้าวไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมีจำนวนมาก ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 14,774 บาท ต่อครัวเรือนต่อปีและมีหนี สินทุกครัวเรือน (ข้อมูลจากปี 2543)
ปัจจุบันโครงการพัฒนาแบบพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางยาง ได้พัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชนโดยการส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร โดยประกอบด้วย ส่งเสริมการปลูกพืชผักใน และนอกโรงเรือนเพื่อจำหน่ายตลาดชุมชน/ตลาดข้อตกลง และตลาดท้องถิ่น สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตพืชไร่ การทำนาขั้นบันได ส่งเสริมปลูกไม้ผลที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ได้แก่ อาโวคาโด องุ่น สตรอเบอร์รี่ พลับ ทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ส่งเสริมปลูกพืชผักทั้งในและนอกโรงเรือน ได้แก่ ฟักทองญี่ปุ่น มะเขือเทศโทมัส แตงกวาญี่ปุ่นส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์และประมง ได้แก่ สุกร เป็ด ไก่ ปลา เพื่อสร้างรายได้เสริม และเพื่อใช้บริโภค ในครัวเรือน
หมู่บ้าน |
ตำบล |
รายได้ต่อครัวเรือน |
1. บ้านปางยาง หมู่ที่ 1 |
ภูคา |
19,166 |
2. บ้านขุนกูน หมู่ที่ 2 |
ภูคา |
16,666 |
3. บ้านน้ำขว้าง หมู่ที่ 3 |
ภูคา |
18,750 |
4. บ้านผาเวียง หมู่ที่ 3 |
ภูคา |
15,500 |
5. บ้านห่าง หมู่ที่ 3 |
ภูคา |
14,000 |
6. บ้านป่าแดด หมู่ที่ 3 |
ภูคา |
14,500 |
7. บ้านน้ำย้อ หมู่ที่ 8 |
ภูคา |
13,300 |
8. บ้านน้ำดั้น หมู่ที่ 13 |
ภูคา |
14,700 |
9. บ้านป่าไร่ หมู่ที่ 8 |
ภูคา |
16,500 |
10.บ้านผาเวียงเก่า หมู่ที่ 3 |
ภูคา |
16,000 |
รวม |
|
159,082 |