ความเป็นมาของโครงการ

ประธานอำนวยการโครงการพระเมตตาสมเด็จย่าได้มีหนังสือทุนการกุศลสมเด็จย่า ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 ขอให้มูลนิธิโครงการหลวงให้การสนับสนุนด้านวิชาการ เทคนิคการปลูกพืช และการตลาดให้แก่เกษตรกรบ้านแม่มะลอ ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง อาศัยในเขตอุทยานแห่งชาติอินทนนท์ และต่อมาสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงและเจ้าหน้าที่ส่วนกลางมูลนิธิโครงการหลวงได้เข้าร่วมประชุมวางแผนพัฒนากับเกษตรกรตัวแทน จำนวน 19 ราย ได้ตกลงในหลักการปลูกพืชผักส่งตลาดโครงการหลวงโดยเน้นการผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมในขั้นต้น กำหนดการปลูกหอมญี่ปุ่นเป็นพืชนำร่อง โดยได้เริ่มดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ตั้งแต่พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน ภายใต้ชื่อ “โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่มะลอ” ต่อมาในปี 2560 ได้เปลี่ยนชื่อโครงการเป็น “โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่มะลอ”
ปีที่เริมดำเนินงาน : พ.ศ. 2549
สถานที่ตั้งของโครงการ
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่มะลอ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ดำเนินงานจำนวน 8 กลุ่มบ้าน ที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีความสูงจระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 900–1,200 เมตร ใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที ประชากรในพื้นที่มี 2 เผ่า คือ พื้นเมืองและกะเหรี่ยง
ที่ตั้ง : บ้านแม่มะลอ หมู่ที่ 9 ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
พิกัด : E 440863 N 2058861
มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ |
ติดกับเขตพื้นที่ |
ตำบลแม่แม่นาจร อำเภอแจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ |
ทิศใต้ |
ติดกับเขตพื้นที่ |
ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ |
ทิศตะวันออก |
ติดกับเขตพื้นที่ |
ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ |
ทิศตะวันตก |
ติดกับเขตพื้นที่ |
ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ |

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน
กลุ่มบ้าน |
ตำบล |
ความสูงของพื้นที่ (เมตร) |
บริบทของพื้นที่ |
ครัวเรือน |
ประชากรรวม |
ชนเผ่า |
บ้านแม่มุ |
แม่นาจร |
500 - 600 |
นาข้าว ข้าวโพด |
239 |
665 |
กะเหรี่ยง |
บ้านแม่นาจร |
แม่นาจร |
500 - 600 |
นาข้าว ข้าวโพด |
337 |
738 |
พื้นเมือง |
บ้านแม่วาก |
แม่นาจร |
500 - 600 |
นาข้าว ข้าวโพด |
104 |
265 |
พื้นเมือง |
บ้านสบวาก |
แม่นาจร |
500 - 600 |
นาข้าว ข้าวโพด |
81 |
234 |
พื้นเมือง |
บ้านแม่มะลอ |
แม่นาจร |
900 - 1,200 |
นาข้าว ข้าวโพด |
154 |
433 |
กะเหรี่ยง |
บ้านใหม่พัฒนาสันติ |
แม่นาจร |
600 - 800 |
นาข้าว ข้าวโพด |
92 |
318 |
กะเหรี่ยง |
บ้านแม่นาจรเหนือ |
แม่นาจร |
500 - 600 |
นาข้าว ข้าวโพด |
259 |
577 |
พื้นเมือง |
บ้านแม่หอย |
แม่นาจร |
500 - 600 |
นาข้าว ข้าวโพด |
145 |
366 |
กะเหรี่ยง |
รวม |
1,411 |
3,596 |
2 ชนเผ่า |
สภาพพื้นที่ของโครงการ
บริเวณหมู่บ้านตั้งอยู่ที่ความสูง 990 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีลำห้วยแม่มะลอไหลผ่านหมู่บ้าน สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีที่ราบแคบๆ ทอดตามลำห้วยแม่มะลอ บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณที่มีโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นหินแกรนิตมีอายุอยู่ในยุคคาร์บอนิเฟอรัสและจากแผนที่แสดงศักยภาพของดินเพื่อการเกษตรภาคเหนือของประเทศโดยกองสำรวจที่ดิน

สภาพภูมิอากาศ

ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเอาความชุ่มชื้นและเมฆฝนเข้ามาทาให้ฝนตก และลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากประเทศจีน จะนาความเย็นและความแห้งแล้งเข้ามาทาให้เกิดฤดูกาลต่างๆ โดยจะมีฤดูร้อนในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ฤดูฝนในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน ปริมาณน้าฝน1,900 มิลลิเมตรต่อปี (หน่วยจัดการต้นน้าแม่ซา) และฤดูหนาวในช่วงระหว่างเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์ สลับกันไปอย่างไรก็ตาม ในตอนล่างของพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร ลงมา มีสภาพอากาศแบบกึ่งเขตร้อน
แหล่งน้ำในพื้นที่โครงการ
แหล่งน้ำที่สำคัญสายหลักที่ใช้ในการเกษตร ได้แก่ ห้วยแม่มะลอ ห้วยแม่วาก ห้วยแม่กากรอง และแม่น้าสายรองลงมา ได้แก่ ห้วยอีรวก ห้วยหมู่บ้าน ห้วยปู่ขุนนวก และสาหรับแหล่งน้ำที่ใช้บริโภค ได้แก่ ห้วยแม่มะลอ และ ห้วยหมู่บ้าน ซึ่งทำเป็นแบบการต่อเป็นระบบประปาภูเขามาตามครัวเรือน

สภาพเศรษฐกิจ

ประชาชนส่วนใหญ่ คือร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น รับจ้าง งานหัตถกรรม ค้าขาย รับราชการ และหาของป่า ทั้งนี้การทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้เกษตรกรมีปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพและมีหนี้สิน และยังมีการใช้สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมีจำนวนมาก ส่วนการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรบางรายมีการเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองเป็นอาชีพ มีการเลี้ยงไก่ และหมูพันธุ์พื้นเมือง เพื่อบริโภคในครัวเรือน
สภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ
เกษตรกรมีปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรในฤดูแล้ง เส้นทางลำเลียงผลผลิตจากหมู่บ้านค่อนข้างห่างไกลทำให้ต้นทุนการขนส่งสูง และเกษตรกรทาการเกษตรโดยใช้วิธีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ตามวิถีชีวิตดั้งเดิมซึ่งขาดองค์ความรู้ด้านการจัดการดินและการเพาะปลูกพืชเชิงอนุรักษ์ รวมถึงไม่มีแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน

โครงสร้างพื้นฐาน

ทุกกลุ่มบ้านและหลังคาเรือนในพื้นที่ดำเนินงานของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่มะลอ มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน มีคลื่นเสาสัญญาโทรศัพท์ ยกเว้นบางบ้าน มีน้ำอุปโภคและบริโภคทุกหลังคาเรือนโดยเป็นระบบประปาภูเขา แต่ไม่เพียงพอในฤดูแล้งและไม่สะอาดเท่าที่ควร และมีปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรมาก เนื่องจากหมู่บ้านบางหมู่บ้านในเขตอยู่สูงกว่าระดับน้ำเส้นหลัก ในขณะที่ฝายและระบบประปาภูเขาที่อยู่สูง น้ำต้นทุนมีน้อย ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้รับการพัฒนาแหล่งน้ำจากหน่วยงานต่างๆแล้วบางส่วน