โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ห้วยน้ำเย็น

สถานที่ตั้งของโครงการ

พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ้านห้วยน้ำเย็น หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

พิกัดที่ตั้ง  : ระบบพิกัด WGS84 UTM Zone 47Q 452554 E 1905035 N

มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ

ติดกับเขตพื้นที่

บ้านห้วยผาดำ ต.แม่ตื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก

ทิศใต้

ติดกับเขตพื้นที่

น้ำแม่ตื่น

ทิศตะวันออก

ติดกับเขตพื้นที่

บ้านกลอเด ต.แม่ตื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก

ทิศตะวันตก

ติดกับเขตพื้นที่

น้ำแม่ตื่น

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน

กลุ่มบ้านเป้าหมาย จำนวน 6 หย่อมบ้าน ใน 1 ตำบล 1 อำเภอ 1 จังหวัด ประชากรรวม 1,455 คน 360 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่ากะเหรี่ยง แบ่งตามระดับความสูง ดังนี้

หมู่บ้านที่มีระดับความสูงค่อนข้างต่ำ (600-1,000 เมตร) จำนวน 1 หมู่บ้าน

หมู่บ้าน (ความสูง:เมตร)

ครัวเรือน

ประชากร

ชนเผ่า

1)บ้านห้วยน้ำเย็น (800เมตร)

190

634

กะเหรี่ยง

2)บ้านผาดำ(900)

58

321

กะเหรี่ยง

3)บ้านกล่อเด(850)

12

75

กะเหรี่ยง

4)บ้านทิโพฉิโกร(600)

18

88

กะเหรี่ยง

5)บ้านห้วยหมาบ้า(600)

29

135

กะเหรี่ยง

6)บ้านห้วยวัว(650)

53

202

กะเหรี่ยง

รวม

360

1,455

 

สภาพพื้นที่ของโครงการ

ลักษณะภูมิประเทศพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ้านห้วยน้ำเย็น เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีที่ราบระหว่างหุบเขา ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 799 เมตร มีลักษณะดินตะกอนไหลลงมากับน้ำ สภาพพื้นที่ทำการเกษตรมีหินมาก และสภาพพื้นที่ทำการเกษตรเป็นที่ลาดชันและ ที่ราบ มีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ฝนจึงตกชุกเกือบทั้งปีคือประมาณ 8-9 เดือน โดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่ฝนตกชุกมาก มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน -กุมภาพันธ์ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33 องศาเซลเซียสช่วงเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 10 องศาเซลเซียสช่วงเดือนธันวาคม จำนวนวันที่ฝนตกประมาณ 3-5 วัน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 500-1,000 มิลลิเมตร เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ป่าชุมชน พื้นที่อยู่อาศัย และที่ตั้งของหน่วยงาน/องค์กร และที่สาธารณะทั่วไป

แหล่งน้ำในพื้นที่โครงการ

แหล่งน้ำที่สำคัญของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ้านห้วยน้ำเย็น แหล่งน้ำธรรมชาติ 3 สาย ได้แก่ 1.ทีคึโกร 2. เลผะซูคี 3.ลำห้วยหมาบ้า  แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ลำห้วย น้ำฝน แหล่งน้ำดื่ม ประปาภูเขาแหล่งน้ำใช้ในครัวเรือน

การคมนาคมในพื้นที่โครงการ

การคมนาคมพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ้านห้วยน้ำเย็น  อยู่ห่างจากอำเภอแม่ระมาด เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร เป็นถนนถนนลูกรังและคอนกรีต สร้างโดยองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่น ส่วนถนนในหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง และมีถนนคอนกรีตยาวประมาณ 1,000 เมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง และอีกเส้นทางหนึ่งอยู่ห่างจากอำเภออมก๋อยเป็นระยะทาง 128 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง 76 กิโลเมตร ถนนลูกรัง 52 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง

โครงสร้างพื้นฐาน

โครงสร้างพื้นฐานพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ้านห้วยน้ำเย็น  ไม่มีระบบไฟฟ้า มีไฟฟ้าเป็นระบบพลังงานแสงอาทิตย์โซล่าเซลล์เฉพาะบางครัวเรือน ระบบชลประทาน มีน้ำระบบประปาภูเขา แหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค ทีคึโกรใช้ เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของชาวบ้านมีระบบส่งน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่ออุปโภคบริโภค(โดยกรมชลประทาน,กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)การสื่อสาร มีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน  มีศูนย์การเรียน จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงเรียนบ้านน้ำหอม สาขา ห้วยน้ำเย็น จำนวนครู 8 คน โดยแบ่งเป็นครูอัตราจ้างทั้งหมด มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 62 คน โดยมีอาคารเรียน 1 หลัง มีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข