ความเป็นมาของโครงการ

บ้านแม่แฮหลวงได้จัดตั้งมากว่า 100 ปี เดิมอยู่หมู่ที่ 11 ประกอบด้วยหมู่บ้านปิตุคี บ้านแม่แฮน้อย บ้านแม่แฮหลวง และบ้านขุนสอง ต่อมาในปีพุทธศักราช 2539 ได้แยกจากหมู่ที่ 11 มาเป็นหมู่ที่ 14 ประกอบด้วยบ้านแม่แฮน้อย และบ้านแม่แฮหลวง ปัจจุบันพื้นที่บ้านผีปานเหนือซึ่งอยู่ใน ตำบลนาเกียนเป็นหมู่บ้านที่มีการปลูกฝิ่นอย่างซ้ำซากและหนาแน่น โดยมีพื้นที่ปลูกฝิ่นระดับตำบลนาเกียนจำนวน 54.71 ไร่จำนวนแปลงปลูก 72 แปลง...
สถานที่ตั้งโครงการ
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืนบ้านแม่แฮหลวง มีที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติงานโครงการ พิกัด ระบบพิกัด WGS84 UTM Zone 47Q 428335E 1944318N ซึ่งอยู่ในพื้นที่บ้านหลัก คือ บ้านแม่แฮหลวง หมู่ที่ 14 ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
มีอาณาเขตของพื้นที่รับผิดชอบของโครงการ ดังนี้
ทิศเหนือ |
ติดกับเขตพื้นที่ |
บ้านแม่แฮน้อย ต.ยางเปียง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ |
ทิศใต้ |
ติดกับเขตพื้นที่ |
บ้านแม่ระอาใน ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ |
ทิศตะวันออก |
ติดกับเขตพื้นที่ |
บ้านสบลาน ต.ยางเปียง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ |
ทิศตะวันตก |
ติดกับเขตพื้นที่ |
บ้านขุนสอง ต.ยางเปียง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ |

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน
สภาพแวดล้อมในพื้นที่โครงการ
พื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีที่ราบระหว่างหุบเขา ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,029 เมตร อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 9 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,000 - 1,200 มิลลิเมตร

ข้อมูลทรัพยากรดิน

ทรัพยากรดิน ดินตะกอนเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ำดีปานกลาง เป็นดินลึกถึงลึกมาก พบบริเวณสภาพพื้นที่ส่วนต่ำของหุบเขา มีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลาดชันเล็กน้อย เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำร่วมกับวัสดุที่สลายตัวผุพังจากหินที่เป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน ดินมีการระบายน้ำดีปานกลาง น้ำซึมผ่านได้ปานกลางถึงค่อนข้างช้า ดินอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง ดินบนหนาประมาณ 20 เซนติเมตร สีน้ำตาล และมีจุดประสี เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 5.5-6.5 ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทราย และมีการสลับชั้นดิน สีน้ำตาลปนเทา
ข้อมูลทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำ แหล่งต้นน้ำ จำนวน 2 สาย ได้แก่ ห้วยแม่แฮและห้วยเคลอะกละเลโกล ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ฤดูแล้งมีน้ำน้อย และมีประปาภูเขาไม่มีระบบกรองน้ำ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรทำการเกษตรโดยการอาศัยน้ำฝน ฝาย และ บ่อน้ำตื้น

โครงสร้างพื้นฐาน

ระบบไฟฟ้า มีระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
สถานศึกษาในพื้นที่มี ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่แฮหลวง
การบริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ มี รพสต.บ้านสบลาน(หน่วยย่อยบ้านแม่ลานหลวง) และอยู่ห่างจากโรงพยาบาลอมก๋อย ระยะทาง 23 กม.