ความเป็นมาของโครงการ

ผู้ใหญ่บ้านบ้านปางหินฝน (นายสุทัศน์ มาเมือง) ได้มีหนังสือถึงประธานมูลนิธิโครงการหลวง ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เรื่อง การขอขยายเขตบริการมูลนิธิโครงการหลวง โดยขอให้เข้ามาส่งเสริมการพัฒนาอาชีพการผลิตพืชผักและให้ความรู้แก่คนในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนสามารถผลิตผักมีคุณภาพส่งให้โครงการหลวง โครงการขยายผลโครงการหลวงปางหินฝนก่อตั้งปี พ.ศ.2550...
สถานที่ตั้งโครงการ
ที่ตั้ง : บ้านปางหินฝน (หย่อมบ้านทุ่งหญ้า) หมู่ที่ 10 ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
พิกัด : E 418524 N 2046410
มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ |
มีเขตติดต่อกับ |
ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่, ตำบลขุนแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
ทิศใต้ |
มีเขตติดต่อกับ |
ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
|
ทิศตะวันออก |
มีเขตติดต่อกับ |
ตำบลบ้านทับ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
|
ทิศศตะวันตก |
มีเขตติดต่อกับ |
ตำบลแม่นาจาง ตำบลขุนแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย |

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน
สภาพพื้นที่ในโครงการ
ขอบเขตโครงการ มีพื้นที่รวม 99,124 ไร่ โดยอยู่ในเขตชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1 และ 2 ทั้งหมด และอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่มและพื้นที่เตรียมการอุทยานแม่โถ พื้นที่ป่าบางส่วนยังค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ พบสัตว์ป่า และทางชุมชนแบ่งพื้นที่ป่าชุมชนไว้ ลักษณะเป็นดินร่วนซุย แต่พื้นที่ใช้ในการเกษตรค่อนข้างเป็นกรด และเสื่อมโทรมเนื่องจากใช้มาเป็นเวลานานโดยไม่มีการบำรุงดินใช้ซึ่งพื้นที่ใช้ในการปลูก พืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวไร่ ข้าวนา พืชผัก เช่น กะหล่ำปลี ขาวปลี มันฝรั่ง หอมแดงมะเขือเทศ และกาแฟ ต่อเนื่องกันทุกปี โดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นภูเขาและที่ราบเชิงเขา มีความสูงระหว่าง 800-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เกษตรกรทำการเกษตรบริเวณเชิงเขาและที่ราบเชิงเขา

สภาพภูมิอากาศ

มีอุณหภูมิสูงสุด 39 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 12 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ย
25 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝน 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
แหล่งน้ำในพื้นที่โครงการ
พื้นที่หมู่บ้าน เป็นแหล่งต้นน้ำ ถึง 18 แห่ง ที่สำคัญซึ่งไหลลงไปตามลำห้วยต่าง ๆ
ลงสู่แม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งใช้ในหมู่บ้าน เพื่ออุปโภคบริโภคได้ และการเกษตร ตลอดปี

สภาพเศรษฐกิจ

จากข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนในด้านอาชีพ ที่พบว่าประชากรในพื้นที่มีการใช้สารเคมีสูง ผลผลิตพืชต่อไร่ต่ำ ราคาผลผลิตมีราคาถูก ซึ่งเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงมาจากผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ รวมถึงมีต้นทุนในการผลิตสูงด้วยการพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกเป็นหลัก มีตลาดรองรับน้อยและยังขาดการรวมกลุ่มภายในชุมชนเพื่อการจำหน่ายสินค้าการเกษตร ประชาชน มีอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม โดยปลูกผัก ทำไร่และทำนาเป็นหลัก การประกอบอาชีพในฤดูแล้งมีน้อยมาก เช่น การปลูกผัก และการปลูกไม้ผล อาชีพรองลงไปคือการทอผ้า และรับจ้าง ส่วน การเลี้ยงสัตว์ก็เลี้ยงไว้บริโภคและมีการขายภายในหมู่บ้านเท่านั้น
สภาพสังคมในพื้นที่โครงการ
ปัจจุบันดูแลอยู่ 13 หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,168 ครัวเรือน ประชากร จำนวน 7,862 คน ส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ (พุทธผี) และนับถือศาสนาคริสต์ มีโรงเรียน 7 แห่ง สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 แห่ง และสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 แห่ง
มุ่งเน้นการจัดทำแผนชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้เองเป็นประการแรก และส่งเสริมการรวมกลุ่มให้เป็นสถาบันเกษตรกรจากกลุ่มอาชีพธรรมชาติ เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเตรียมสหกรณ์ และเป็นกลุ่มสหกรณ์ได้ในที่สุด ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างให้เป็นชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้
