โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ป่าแป๋

ความเป็นมาของโครงการ

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้เข้ามาดำเนินงานในพื้นที่สืบเนื่องจากผู้นำชุมชน ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำหนังสือถึงประธานมูลนิธิโครงการหลวง ตามหนังสือที่ พิเศษ/2547 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2547 เรื่องขอให้ก่อโครงการหลวงในพื้นที่ตำบลป่าแป๋ เนื่องจากอาชีพการปลูกและเก็บใบเมี่ยงได้ผลตอบแทนที่ไม่เพียงพอต่อค่ารองชีพที่สูงขึ้นในสภาพปัจจุบันและชุมชนขาดความรู้ที่เหมาะสมด้านการประกอบอาชีพ มีหนี้สินเพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพและการศึกษาของบุตร โดยขอให้โครงการหลวงเข้าไปช่วยเหลือด้านการส่งเสริมอาชีพเกษตรและการจัดการตลาด เพื่อยกความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น 
ปี 2550 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน)เริ่มดำเนินการ มาถึงปัจจุบัน
ปีที่เริมดำเนินงาน : พ.ศ. 2552

 

สถานที่ตั้งโครงการ

พื้นที่ตำบลป่าแป๋ อยู่ห่างจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ระยะทาง 75 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 45 นาที อยู่ห่างจากอำเภอแม่แตง 35 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 30 นาที และอยู่ห่างจากสถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอดระยะทาง 15 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 20 นาที โดยเส้นทางคมนาคมเป็นถนนลาดยางทั้งหมด ความสูงของพื้นที่ระหว่าง 700 – 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประชากร 3 เผ่า คือ ไทยพื้นราบ กระเหรี่ยง และลีซู ประชากร จำนวน 2,357 ครัวเรือน จำนวน 6,141 คน มีพื้นที่ที่รับผิดชอบ 1 ตำบล 13 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านป่ายางหนาด หมู่ที่ 2 บ้านปางมะกล้วย หมู่ที่ 3 บ้านผาเด็ง หมู่ที่ 4 บ้านป่าแป๋ หมู่ที่ 5 บ้านแม่เลา หมู่ที่ 6 บ้านปางลัน หมู่ที่ 7 บ้านแม่ไคร้ หมู่ที่ 8 บ้านแม่แสะ หมู่ที่ 9 บ้านแม่แมม หมู่ที่ 10 บ้านแม่น้ำแขม หมู่ที่ 11 บ้านท่าผา หมู่ที่ 12 บ้านกิ่วถ้วย-ปางมะโอ หมู่ที่ 13 บ้านขุนห้วยพระเจ้า

กลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงป่าแป๋
มีกลุ่มบ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน จำนวน 13 กลุ่มบ้าน

สภาพพื้นที่ในโครงการ

พื้นที่ตำบลป่าแป๋ มีพื้นที่ 323 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 202,358 ไร่ มีสภาพเป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ พื้นที่โดยทั่วไปอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 800 – 1,500 เมตร มีพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงคือสูงมากคิดเป็นร้อยละ 22 และ 32 ตามลำดับ และเป็นบริเวณที่ลาดต่ำลงมาถึงระดับค่อนข้างงานราบเรียบ ร้อยละ 30

ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง อุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย และอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ ชั้นลุ่มน้ำ ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ1A คิดเป็นร้อยละ 654.46 รองลงมาเป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 คิดเป็นร้อยละ 23.73 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B คิดเป็นร้อยละ 8.44 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 คิดเป็นร้อยละ 3.11 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 4 คิดเป็นร้อยละ 0.26 ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (โซน C) ร้อยละ 97 เป็นป่าดิบเขาและมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์

สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศ มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 28 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 10 องศาเซลเซียส
ในเดือนธันวาคมและมกราคม
ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายน โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,583 มิลลิเมตรต่อปี

แหล่งน้ำในพื้นที่โครงการ

แหล่งน้ำ ที่เป็นน้ำธรรมชาติประกอบด้วยลำห้วย 30 สาย ได้แก่ น้ำแม่ริม ห้วยแม่หลวง ห้วยพระเจ้าน้อย ห้วยป่าแป๋ ห้วยปี๋ ห้วยกองขาก และห้วยต้นขนุน มีบึงและหนอง 8 แห่ง น้ำพุร้อน 1 แห่ง แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่ ฝ่ายน้ำล้นขนาดเล็กเพื่อใช้ในการเกษตร จำนวน 10 แห่ง และบ่อน้ำตื้น จำนวน 320 แห่ง

สภาพเศรษฐกิจ

สภาพเศรษฐกิจด้านการพัฒนาอาชีพและการตลาด

การดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงป่าแป๋ที่ผ่านมากได้พัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกร เพื่อให้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพและรายได้มากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาการต่อยอดพืชเดิม คือ ชาอัสสัม มะแขว่น กาแฟ  ด้วยการดูแลรักษาต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิม โดยการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยองค์ความรู้งานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ เสริมสร้างความมั่นคงด้านการตลาดและจัดหาช่องทางการตลาดที่หลากหลายพัฒนาโรงงานแปรรูปให้สามารถรองรับผลผลิตได้ทั้ง GAP และอินทรีย์ พัฒนาให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถบริหารการจัดการได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมอาชีพแก่ผู้สูงอายุ และคนพิการ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จักรสานของที่ระลึก...

สภาพสังคมในพื้นที่โครงการ

กลุ่มบ้านในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงป่าแป๋ ทั้ง 13 กลุ่มบ้าน มีประชากรจำนวน 2,357 ครัวเรือน จำนวน 6,141 คน ประกอบด้วย 3 เผ่า คือ พื้นเมือง กะเหรี่ยง  และลีซู โดยส่วนใหญ่คือคนพื้นเมือง ร้อยละ 60 ด้านสาธารณสุขประชาชนใช้บริการจากสถานีอนามัยบ้านปางมะกล้วย ตำบลป่าแป๋ ที่ผ่านมาโครงการพัฒนาแบบพื้นที่สูงป่าแป๋ ได้สนับสนุนการทำแผนชุมชนและการการนำไปใช้ประโยชน์ใน 13 กลุ่มบ้านคือ... 

สภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ

พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงป่าแป๋ ทั้ง 13 กลุ่มบ้าน มีพื้นที่รวมประมาณ 245,654 ไร่ โดยอยู่ในเขตอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง 24,513.53 ไร่อุทยานแห่งชาติสุเทพ - ปุย 14,354.49 ไร่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ 111,957.64 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตง 74,878.13 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง 11,663.38 ไร่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสะเมิง 7,858.44 ไร่ พื้นที่ตำบลป่าแป๋ อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 2  58,287.42 ไร่ อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A 158,351.88 ไร่  เป็นป่าดิบเขาและมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ 

โครงสร้างพื้นฐาน

ในพื้นที่ดำเนินงานของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงป่าแป๋ มีหมู่บ้านที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงได้แก่ บ้านแม่จอก หมู่ที่8 ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และมีปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องบ้างเมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง มีน้ำอุปโภคและบริโภคทุกหลังคาเรือนโดยเป็นระบบประปาภูเขา แต่ไม่เพียงพอในฤดูแล้งและไม่สะอาดเท่าที่ควร และมีปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรมาก เนื่องจากลำห้วยขนาดใหญ่และที่มีปริมาณน้ำเพียงพออยู่ต่ำกว่าระดับพื้นที่ทำการเกษตรและพื้นที่ตั้งชุมชน