
ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. ข้อมูลทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่บ้านผาผึ้ง และบ้านศรีคีรีรักษ์ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ร้อยละ 50.46 ที่เหลือ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าประดางและป่าวังก์เจ้า ร้อยละ 49.54 การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (โซน C) ร้อยละ 91.21 ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ พันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ที่มีคุณค่าหายาก เพื่อการป้องกันภัยธรรมชาติอันเกิดจากน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ตลอดทั้งเพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษา การวิจัย และความมั่นคงของชาติ และเป็นพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) ร้อยละ 8.79 เพื่อการพัฒนาการทรัพยากรป่าไม้ และพื้นที่ประสานการใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างทรัพยากร ป่าไม้กับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรแร่ และทรัพยากรพลังงาน เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ
การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ (โซน C) |
179.88 |
112,425.81 |
91.21 |
พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) |
17.34 |
10,837.72 |
8.79 |
รวม |
197.22 |
123,263.53 |
100.00 |
2. ข้อมูลทรัพยากรดิน
ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชุดดินที่ 62 เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (Slope Complex) คิดเป็นร้อยละ 96.00 เป็นดินหน่วยผสมของพื้นที่ที่มีความลาดชันซับซ้อน ดินกลุ่มนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ดินที่พบในบริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจายทั่วไป สภาพดินเป็นดินทรายผสมดินลูกรัง ดินกลุ่มนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เนื่องจากอยู่ในบริเวณที่มีความลาดชันสูงมาก ในพื้นที่ทำการเกษตรจะเกิดการชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดินอย่างรุนแรง ขาดแคลนน้ำและบางพื้นที่อาจพบชั้นหินพื้นหรือเศษหินกระจัดกระจายอยู่บริเวณหน้าดิน ควรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในเชิงอนุรักษ์หรือวนเกษตร ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นดินลึกและสามารถพัฒนาแหล่งน้ำได้ มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ทำแนวรั้วหญ้าแฝกและขุดหลุมปลูกเฉพาะต้น โดยไม่มีการทำลายไม้พื้นล่าง ร้อยละ 96.73 ที่เหลือเป็นดินชุด 44 กลุ่มดินทรายหนาที่เกิดจากตะกอนลำน้ำหรือตะกอนเนื้อหยาบ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง การระบายน้ำค่อนข้างมาก ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินในระดับน้อย 2-5/ ตัน/ตร.กม./ปี คิดเป็นร้อยละ53.26 รองลงมามีการชะล้างพังทลายของดับระดับปานกลาง (ที่สูง) 5-12 ตัน/ตร.กม./ปี คิดเป็นร้อยละ 37.15 การชะล้างพังทลายของดับระดับน้อยมาก (ที่สูง) 0-2 ตัน/ตร.กม./ปี คิดเป็นร้อยละ 7.13 และ การชะล้างพังทลายของดับระดับรุนแรงมาก (ที่สูง) >20 ตัน/ตร.กม./ปี คิดเป็นร้อยละ 2.49
กลุ่มดินในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงผาผึ้ง-ศรีคีรีรักษ์
รหัส |
กลุ่มดิน |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
|||
44 |
ดินชุดปากช่องประเภทที่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด |
6.45 |
4,031.01 |
3.27 |
62 |
พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน |
190.77 |
119,232.52 |
96.73 |
รวม |
197.22 |
123,263.53 |
100.00 |
การชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงผาผึ้ง-ศรีคีรีรักษ์
รหัส |
คำอธิบาย |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
||
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||||
1 |
น้อย |
2-5/ ตัน/ตร.กม./ปี |
104.98 |
65,611.98 |
53.23 |
H1 |
น้อยมาก (ที่สูง) |
0-2/ ตัน/ตร.กม./ปี |
14.06 |
8,789.33 |
7.13 |
H3 |
ปานกลาง (ที่สูง) |
5-12/ ตัน/ตร.กม./ปี |
73.27 |
45,791.34 |
37.15 |
H5 |
รุนแรงมาก (ที่สูง) |
>20/ ตัน/ตร.กม./ปี |
4.91 |
3,070.88 |
2.49 |
รวม |
197.22 |
123,263.53 |
100.00 |
3. ข้อมูลทรัพยากรน้ำ
บ้านผาผึ้ง และบ้านศรีคีรีรักษ์ อยู่ในเขตลุ่มน้ำสาขาคลองวังเจ้า ลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำปิง แหล่งน้ำที่สำคัญคือคลองแม่คะมา พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A ร้อยละ 38.70 เหมาะสมต่อการเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ยังมีสภาพป่าสมบูรณ์ เนื่องจากว่าอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ง่ายและรุนแรง รองลงมาชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 ร้อยละ 30.69 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 ร้อยละ 25.63 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 4 ร้อยละ 4.82 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B ร้อยละ 0.16
ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงผาผึ้ง-ศรีคีรีรักษ์
ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A |
76.32 |
47,701.79 |
38.70 |
ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B |
0.31 |
196.22 |
0.16 |
ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 |
60.53 |
37,831.90 |
30.69 |
ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 |
50.55 |
31,594.10 |
25.63 |
ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 4 |
9.50 |
5,939.52 |
4.82 |
รวม |
197.22 |
123,263.53 |
100.00 |
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) พ.ศ.2558